‘ต้องศึกษาฐานของเขาก่อน’


 

ขอโอกาส พระอาจารย์ชยสาโร (พระธรรมพัชรญาณมุนี) ถามเรื่องสื่อสารกับวัยรุ่น

เพราะพระอาจารย์ ได้พูดคุยกับเด็กๆ และวัยรุ่นที่โรงเรียน
ทั้งทอสีและปัญประทีป เป็นประจำ

พระอาจารย์บอกว่า ในการสื่อสาร​ สิ่งแรก​ก็คือเราต้องรู้เท่าทัน และต้องศึกษา​ฐานของเขาก่อน​

ในปัจจุบัน ต้องเน้นที่ว่าเขามีความคิดผิด​อย่างไรบ้าง

เพราะว่าถ้าเขามีความคิดผิดมีอคติอยู่​แล้ว

หรือเขาด่วนสรุปอะไร​ไปแล้ว​
พวกนี้เขาจะตกร่องของเขา​
เขาจะแปลตามที่เขาคิด

ฉะนั้นเราต้องไปอธิบายว่า​
ที่เขาคิดตรงนั้นตรงนี้มันไม่ใช่อย่างนั้น​

เหมือนจะต้องล้างแก้วเก่า​ แล้วค่อยใส่น้ำใหม่

อันที่สอง ก็คือ​ เราเอาหลักอริยสัจ ๔​

คือทุกข์หรือปัญหา​ของเขาในปัจจุบันมีอะไรบ้าง​

ที่เขาเป็นกังวล​ เขาเป็นห่วง​ เขาเป็นทุกข์
แล้วต้องอธิบายว่าพุทธศาสนาหรือพุทธธรรม​
มีคำสอนมีข้อคิด​ มีแนวทางปฏิบัติที่จะแก้
ในสิ่งที่เขากำลังหาคำตอบอยู่

คือเราไม่ได้เริ่มต้นจากของเรา
ว่าพุทธศาสนาสอนอย่างนี้ๆ​

ทุกวันนี้คุณเป็นยังไง​ คุณมีทุกข์ตรงไหน​

มีปัญหาตรงไหน​ สงสัยตรงไหน

มีปัญหาเรื่องอารมณ์มั้ย

เรื่องความซึมเศร้า​ เรื่องความวิตกกังวลมั้ย​ เรื่อง​อะไร​มั้ย​

ทุกวันนี้เวลาซึมเศร้าเนี่ย​ แก้ยังไง​ มีวิธีมั้ย

อาตมาจะพูดอย่างนี้กับเด็กที่ปฏิเสธว่า​ ไม่มีศาสนา​

อาตมาว่าศาสนาไม่ใช่หลักคำสอนที่จะต้องเชื่อ
เป็นวิชาดับความทุกข์

ที่นี้ถ้าบอกว่าไม่เอาพุทธศาสนา​
ก็อยากทราบว่า​
วิธีดับทุกข์ของลูก​ ดีกว่าพระพุทธเจ้าตรงไหน​
อยากจะรู้เหมือนกัน​ ...เขาไม่ตอบ

สรุปก็คือ​
หนึ่ง​ พยายามจับให้ได้ว่าเขาอคติ​
หรือความคิดผิดของเขาต่อศาสนาพุทธ​
ที่เขามีอยู่มีอะไรบ้าง

สอง จะให้ธรรมะต้องเริ่มต้นจากทุกข์​


ทุกข์เริ่มต้นข้างล่างไม่ใช่เริ่มต้นข้างบน​
เป็นหลักสอน​ เป็นปรัชญา​ เป็นชีวิตจริงเขา

เราอยากทราบว่าเขามอง อย่างนี้ไหม​
เขาคิดอย่างนี้ไหม​ เขาคิดอย่างไรกับเรื่องนี้ไหม​
และเราสามารถแก้เป็นจุดๆไปว่า
อันที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้นนะ​

อาตมาพูดบ่อยๆว่าทุกวันนี้​
คนชั้นกลางในกรุงเทพนะ​
จะมองพุทธศาสนาผ่าน​คอน
เซปต์​
ผ่านสายตาของคนตะวันตก​โดยไม่รู้ตัว

คือจะเอาคำวิจารณ์ของศาสนาอื่นมา​ใส่พุทธศาสนา
ทั้งๆที่มันเป็นคนละศาสนา​ คนละประเภทของศาสนา
คือด้วยความเข้าใจผิดว่าศาสนาเหมือนกันหมด​

ฉะนั้นถ้าเราวิจารณ์ศาสนานี้​
คำวิจารณ์นี้ใช้ได้กับทุกศาสนา​

แต่เราบอกว่า บางสิ่งบางอย่าง
ที่เป็นข้อบกพร่องของศาสนานั้น​
อาจจะไม่ใช่ข้อบกพร่องของศาสนานี้ก็ได้​
ทำไมจึงคิดว่ามันเหมือนกันหมด

Cr ~ ศศวรรณ จิรายุส
สวนโมกข์ กรุงเทพ