รุกพัฒนาการขับเคลื่อน “กองทุนบัตรทอง”
บอร์ดควบคุมคุณภาพฯ สปสช. สมัยวาระที่ 5 ได้ดำเนินงานในระยะ 4 ปี และมีผลงานการขับเคลื่อนงานด้านคุณภาพและมาตรฐาน 8 ด้าน
ทั้งพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ พัฒนาการให้บริการในระบบบัตรทอง บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เดินหน้า
งานคุ้มครองสิทธิ พิจารณา/แก้ไขเรื่องร้องเรียน และพัฒนากลไกการช่วยเหลือเยียวยาตามมาตรา 41
พร้อมจัดทำข้อเสนอการดำเนินการระยะถัดไป
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา ประธานกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ในวาระสำคัญคือ
การสรุปผลการดำเนินงานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง สมัยวาระที่ 5 (ปี พ.ศ. 2563 – 2566)
และข้อเสนอการดำเนินงานในระยะถัดไป โดยผลงานต่างๆ ที่รายงานนั้น มาจากความมุ่งมั่น ทุ่มเท และตั้งใจของเหล่ากรรมการทุกคน ที่เป็นตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้มาร่วมกันทำงานในหน้าที่นี้ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาท) โดยให้ความสำคัญต่อประชาชนเป็นเป้าหมายหลัก
ทั้งนี้ ในการดำเนินการของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ภายใต้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และแผนการดำเนินงานการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขและการคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะสี่ปี
พ.ศ. 2563 – 2567
เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการในระบบสุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย
โดยการขับเคลื่อนร่วมกับคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ที่อยู่ภายใต้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ ประกอบด้วย
คณะอนุกรรมการกำกับคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข คณะอนุกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข
คณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน
บริการสาธารณสุขระดับเขตพื้นที่ (อคม.) รวม 13 เขต
คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม คณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด (77 จังหวัด)
คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผลการวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (4 คณะ)
คณะกรรมการสอบสวน (4 คณะ) คณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอเพื่อปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล
และคณะอนุกรรมการจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 60 แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า สำหรับผลงานจากการดำเนินการของคณะกรรมการที่สำคัญ ทั้งในด้าน
การควบคุม การกำกับ การกำหนดมาตรการการควบคุม การส่งเสริมคุณภาพ และมาตรฐานหน่วยบริการ รวมทั้งการคุ้มครองสิทธินั้น มีดังต่อไปนี้
การควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการ อาทิ กำหนดแนวทางกำกับคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ระยะสี่ปี (พ.ศ. 2563 - 2567) กำหนดชุดข้อมูลตัวชี้วัดคุณภาพ (QI) การกำกับติดตาม
การให้บริการสาธารณสุข 13 ประเด็น และการให้ข้อเสนอการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการ เป็นต้น
การกำกับและควบคุมคุณภาพมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุข ได้แก่ เสนอแนวทางมาตรการการป้องกันการเกิดซ้ำของปัญหาด้านคุณภาพและมาตรฐานบริการในระดับเขตพื้นที่จากผลการวิเคราะห์
ตามมาตรา 41 ข้อเสนอลดระยะเวลารอคอยการเตรียมเส้นเลือด (Vascular access)
สำหรับบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม และกำกับติดตามคุณภาพมาตรฐานของระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินในระดับพื้นที่
เป็นต้น
การกำหนดมาตรควบคุมและส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ โดยให้ข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการควบคุม ส่งเสริมคุณภาพและมาตรฐาน บูรณาการการส่งเสริมและการกำกับคุณภาพมาตรฐานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สภาวิชาชีพ และราชวิทยาลัยแพทย์เฉพาะทาง
รวมทั้ง ขับเคลื่อนคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขของ สปสช. ร่วมกับ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) (สรพ.)
การคุ้มครองสิทธิ ได้แก่ เพิ่มช่องทางการคุ้มครองสิทธิ กำกับติดตามผลการรายงานเรื่องร้องเรียน
ตามมาตรา 57 และมาตรา 59 และการพัฒนากลไกการคุ้มครองสิทธิในระดับพื้นที่ เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาร้องเรียนในพื้นที่และกำหนดแก้ไขจัดการเรื่องร้องเรียน การทบทวนกระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียน
ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
รวมทั้งการออกประกาศแนวทางการพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข เรื่อง การพิจารณาการกระทำผิดของหน่วยบริการที่เป็น
การกระทำผิดร้ายแรง หรือการกระทำผิดเกิดซ้ำหลายครั้ง ตามมาตรา 60
การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณีได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ตามมาตรา 41 อาทิ ปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการ
และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2545 และทบทวนแนวทางการพิจารณาวินิจฉัยคำร้อง รวมทั้ง ระบบเฝ้าระวังตามมาตรา 42 เป็นต้น
ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง หรือหน่วย 50(5) ได้แก่ ขยายหน่วยรับเรื่องร้องเรียน กำหนดแนวทางตามมาตรฐาน (Standard Operating Procedure : SOP) และพัฒนาหลักสูตรอบรมพื้นฐานการจัดการ
ความขัดแย้งและความเสี่ยงในระบบสาธารณสุขร่วมกับศูนย์สันติวิธีสาธารณสุข รวมทั้ง ทบทวนชื่อและเปลี่ยนเป็น “ศูนย์คุ้มครองสิทธิบัตรทอง”
ข้อเสนอต่อการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ อาทิ การให้ความเห็นต่อ (ร่าง) ข้อเสนองบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปี การให้ความเห็นและข้อเสนอต่อแนวทางการบริหารจัดการงบจ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการ (QOF) และให้ข้อเสนอการใช้กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมไทย
(TDRG: Thai Diagnosis Related Groups) Version 6 เป็นต้น
และ การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ อาทิ คณะอนุกรรมการกำกับคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข คณะอนุกรรมการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม คณะอนุกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ผลการพิจารณาคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น (4 คณะ) คณะกรรมการสอบสวนหน่วยบริการ (4 คณะ) และคณะอนุกรรมการพิจารณาวินิจฉัยคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นระดับจังหวัด (77 จังหวัด)
และคณะอนุกรรมการบูรณาการขับเคลื่อนคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข เป็นต้น
นพ.สุพรรณ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามแม้ว่าในการทำหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ช่วง 4 ปีที่ผ่านมานั้น ได้มีการวางกรอบและแนวทางการดำเนินงานต่างๆ แล้ว แต่ด้วยสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ทั้งในด้านประชากร สังคม สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี การบริหารจัดการ รวมถึงยังมีประเด็นที่ท้าทาย ดังนั้นคณะกรรมการฯ จึงได้จัดทำข้อเสนอการดำเนินการในระยะถัดไป ทั้งในด้านการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข การขับเคลื่อนการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการมีส่วนร่วม และการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นทิศทางการดำเนินการต่อไป
“ในนามคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ต้องขอขอบคุณ
ในความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ทุกภาคส่วน และทุกๆ คน ที่ได้มาร่วมกันทำงานร่วมกัน จนทำให้งานต่างๆ ภายใต้ภารกิจของคณะกรรมการฯ สามารถสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี
แม้แต่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เป็น
ความท้าทายด้านสุขภาพ และเป็นส่วนทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหลักประกันด้านสุขภาพ
ที่คุ้มครองคนไทยอย่างแท้จริง” ประธานคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานฯ กล่าว