“ข่าวลือหรือข่าวจริงช่วงเลือกตั้ง 2566”

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข่าวลือหรือข่าวจริง ช่วงเลือกตั้ง 2566ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ   และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข่าวลือหรือข่าวจริงช่วงเลือกตั้ง 2566 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง    โดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 31.22 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 25.27 ระบุว่า เชื่อมาก
ร้อยละ 23.59 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 27.40 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ  

สำหรับความเชื่อของประชาชนต่อข่าวการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแทรกแซงจากต่างชาติ พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 56.56 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย รองลงมา ร้อยละ 22.21 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ ร้อยละ 8.17 ระบุว่า เชื่อมาก และร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/
ไม่สนใจ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ในช่วง 6 สัปดาห์ของการหาเสียง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 30.92 ระบุว่า จำนวนมากกว่า 20 ข่าว รองลงมา ร้อยละ 22.29 ระบุว่า จำนวน 1-5 ข่าว ร้อยละ 16.26 ระบุว่า จำนวน 6-10 ข่าว ร้อยละ 13.66 ระบุว่า
ไม่เคยได้ยินเลย ร้อยละ 10.15 ระบุว่า จำนวน 11-15 ข่าว และร้อยละ 6.72 ระบุว่า จำนวน 16-20 ข่าว

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง            ร้อยละ 18.01 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.74 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.71 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.09 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.91 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.79 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.93 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.64 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.74 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 96.72 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 2.67 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 0.61 นับถือศาสนาคริสต์
และศาสนาอื่น ๆ

ตัวอย่าง ร้อยละ 35.19 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.29 สมรส และร้อยละ 2.52 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.19              จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.43 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.40 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า      ร้อยละ 28.32 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.66 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

ตัวอย่าง ร้อยละ 8.55 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 16.49 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 22.98 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.60 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.27 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/


ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 19.16 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 5.95 เป็นนักเรียน/นักศึกษา

ตัวอย่าง ร้อยละ 22.37 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 21.14 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 29.24 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน
10,001-20,000 บาท ร้อยละ 10.61 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.81 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 3.05
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 8.78 ไม่ระบุรายได้        

 

 

 

 

1. ท่านเชื่อหรือไม่กับข่าวที่ว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ บางพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์

  • Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง

ความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแส
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
(Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง

ร้อยละ

ค่อนข้างเชื่อ

31.22

เชื่อมาก

25.27

ไม่เชื่อเลย

23.59

ไม่ค่อยเชื่อ

19.31

ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

0.61

รวม

100.00

 

2. ท่านเชื่อหรือไม่กับข่าวที่ว่า ในการเลือกตั้งครั้งนี้ บางพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์

  • Social Media) เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง

ความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแส
ผ่านสื่อสังคมออนไลน์
(Social Media) เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง

ร้อยละ

ค่อนข้างเชื่อ

30.08

เชื่อมาก

27.40

ไม่เชื่อเลย

22.06

ไม่ค่อยเชื่อ

19.54

ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

0.92

รวม

100.00

 

  1.  
  •  

ร้อยละ

ไม่เชื่อเลย

56.56

ไม่ค่อยเชื่อ

22.21

ค่อนข้างเชื่อ

11.76

เชื่อมาก

8.17

ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

1.30

รวม

100.00

 

  1.  
  • ได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ในช่วง 6 สัปดาห์ของการหาเสียง

ร้อยละ

จำนวนมากกว่า 20 ข่าว

30.92

จำนวน 1-5 ข่าว

22.29

จำนวน 6-10 ข่าว

16.26

ไม่เคยได้ยินเลย

13.66

จำนวน 11-15 ข่าว

10.15

จำนวน 16-20 ข่าว

6.72

รวม

100.00

 

 

 

 

 

 

 

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

 

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค     

ภูมิภาค

จำนวน

ร้อยละ

กรุงเทพฯ

112

8.55

ภาคกลาง

243

18.55

ภาคเหนือ

236

18.01

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

438

33.44

ภาคใต้

180

13.74

ภาคตะวันออก

101

7.71

รวม

  1,310

100.00

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

  •  

จำนวน

ร้อยละ

ชาย

630

48.09

หญิง

680

51.91

รวม

  1,310

100.00

 

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ

จำนวน

ร้อยละ

18-25 ปี

169

12.90

26-35 ปี

233

17.79

36-45 ปี

248

18.93

46-59 ปี

349

26.64

60 ปีขึ้นไป

311

23.74

รวม

  1,310

100.00

 

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา

ศาสนา

จำนวน

ร้อยละ

พุทธ

1,267

96.72

อิสลาม

35

2.67

คริสต์ /ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ

8

0.61

รวม

  1,310

100.00

 

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส

จำนวน

ร้อยละ

โสด

461

35.19

สมรส

816

62.29

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

33

2.52

รวม

  1,310

100.00

 

 

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ)

 

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา

จำนวน

ร้อยละ

ประถมศึกษาหรือต่ำกว่า

330

25.19

มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า

451

34.43

อนุปริญญาหรือเทียบเท่า

97

7.40

ปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

371

28.32

สูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

61

4.66

รวม

  1,310

100.00

 

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก

จำนวน

ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

112

8.55

พนักงานเอกชน

216

16.49

เจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ

301

22.98

เกษตรกร/ประมง

165

12.60

รับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน

187

14.27

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน

251

19.16

นักเรียน/นักศึกษา

78

5.95

รวม

  1,310

100.00

 

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

จำนวน

ร้อยละ

ไม่มีรายได้

293

22.37

ไม่เกิน 10,000 บาท

277

21.14

10,001-20,000 บาท

383

29.24

20,001-30,000 บาท

139

10.61

30,001-40,000 บาท

63

4.81

40,001 บาทขึ้นไป

40

3.05

ไม่ระบุ

115

8.78