ค่าฝุ่นPM2.5 กทม.-ปริมณฑล เกินมาตรฐาน17จุด สูงสุดที่ภาษีเจริญ

กรมควบคุมมลพิษเตือนฝุ่นพิษ PM2.5 จะมาเยือนคนกรุงระหว่าง 7-10 ม.ค. นี้และจะต่อเนื่องเฉลี่ยอย่างน้อย 8 วัน สาเหตุมาจากความกดอากาศต่ำ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์ใน กทม.วันละ 10 ล้านคัน การเผาในที่โล่งแจ้งยังคุมไม่ได้  คุณภาพอากาศกรุงเทพฯ ติดอันดับ 7 อากาศแย่ที่สุดในโลก
.
การประชุมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง ที่นายนายประลอง ดำรงค์ไทย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นประธานร่วมกับ 11 หน่วยงานเกี่ยวข้อง หลังจากมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุทำงานแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562  ที่ผ่านมา 
.
ที่ประชุมได้สรุปสถานการณ์โดยกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่า คนกรุงเทพฯ จะเผชิญฝุ่นละออง PM2.5 หนักขึ้นระหว่างวันที่ 7-10 ม.ค. นี้ เนื่องจากเกิดการสะสมของฝุ่นละอองในอากาศมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ฝุ่นพิษสูงเกินค่ามาตรฐานแล้วถึง 15 พื้นที่ และจะยิ่งเพิ่มสูงและสะสมนานขึ้นอีก
.
ทั้งนี้ สาเหตุมาจาก 3 ปัจจัยเสี่ยง คือ รถยนต์ , การเผาที่โล่แจ้ง และสภาพความกดอากาศต่ำ ซึ่ง คพ. ได้จ้างสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) วิจัยพบว่า รถยนต์เป็นพาหนะที่ก่อให้เกิดฝุ่นพิษมากที่สุดร้อยละ 75.4  ซึ่งแต่ละวัน กทม. มีปริมาณรถยนต์สัญจรกว่าวันละ 10 ล้านคัน ที่ผ่านมาการขอความร่วมมือลดการใช้รถยนต์ส่วนตัวยังไม่สำเร็จ
.
การลดการเผาในที่โล่งแจ้งปัจจัยที่ทำให้เกิดฝุ่น PM2.5 ที่ผ่านมา คพ.ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงมหาดไทย ให้แจ้งต่อผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดลดการเผาในพื้นที่โล่งแจ้ง และขอให้ใช้มาตรการเด็ดขาดเพื่อเอาผิดกับผู้ก่อมลภาวะ ซึ่งปลายปีที่ผ่านมาได้รับความร่วมมือด้วยดี ทั้งใน กทมงและพื้นต่างจังหวัด 
.
แต่ในต้นปีที่ผ่านมาเริ่มมีการเผาในที่โล่งเกิดขึ้นอีก จึงขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทยให้กำชับผู้ว่าฯ ช่วยกันดูแลพื้นที่ของตัวเอง 
.
ปัญหาจากโรงงาน พบว่าการเผาไหม้จากโรงงานไม่ได้สร้างปัญหางฝุ่นละอองเช่นปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะพื้นที่ปริมณฑล เช่น จ.สมุทรปราการ และสมุทรสาคร เพราะมีความเข้าใจมากขึ้นและส่วนหนึ่งเศรษฐกิจที่ไม่สู้ดีจึงมีการลดกำลังการผลิตลง
.
สำหรับโครงการก่อสร้างใน กทม. อาทิ การก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดใหญ่หลายเส้นทาง แต่ละสำนักงานเขตจะเข้มงวดให้มากขึ้น รวมถึง พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าณ กทม.ก็มีแนวทางการลดมาตรการฝุ่นในกรุงเทพฯ ในช่วงที่ผ่านมาอยู่แล้ว 
.
"หากเปรียบเทียบกับวิกฤตที่กรุงเทพฯ ต้องเผชิญฝุ่นพิษ PM2.5 เมื่อปลายปีที่แล้ว จะพบว่าประชาชนต้องเผชิญฝุ่นพิษต่อเนื่องถึง 14 วัน  แต่คาดว่าปีนี้จะเผชิญฝุ่นพิษ 7-8 วัน 
.
รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กทม. ในวันที่ 7 ม.ค. 2563 สรุปผลค่าการตรวจวัด PM2.5 น ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 39-62 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) พบว่าเกินมาตรฐาน (มาตรฐานไม่เกิน 50 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 17 พื้นที่ 
.
เว็บไซต์ airvisual.com จัดอันดับดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI Ranking) พบว่า คุณภาพอากาศกรุงเทพฯ ติดอันดับ 7 อากาศแย่ที่สุดในโลก ผลการสำเรวจโดยสำนักสิ่งแวดล้อม กทม. พบฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 17 พื้นที่ ดัชนีคุณภาพอากาศวัดได้ 173 US AQI และ PM2.5 98.8 มคก./ลบ.ม. ปรากฎแถบสีแดงอยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อทุกคน
.
สำหรับประเทศที่อากาศแย่ที่สุดในโลก คือ เมืองธากา ประเทศบังคลาเทศ ดัชนีคุณภาพอากาศวัดได้ 216 US AQI และ PM2.5 165.8 มคก./ลบ.ม. ปรากฎแถบสีม่วง อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อทุกคนอย่างรุนแรง 
.
รองลงมาเป็น เมืองอูลานบาตอร์ มองโกเลีย ดัชนีคุณภาพอากาศวัดได้ 186 US AQI และ PM2.5 123.5 มคก./ลบ.ม. ปรากฎแถบสีแดง อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อทุกคน
.

ขณะที่ 17 พื้นที่ กทม. ประกอบด้วย
1.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
2.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
3.เขตปทุมวัน บริเวณหน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
.
4.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
5.เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
6.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
.
7.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากั 54 มคก./ลบ.ม.
8.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 58 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 60 มคก./ลบ.ม.
.
10.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
12.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 51 มคก./ลบ.ม.
.
13.เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
14.เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 62 มคก./ลบ.ม.
15.เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 59 มคก./ลบ.ม.
.
16.เขตหลักสี่ ภายในสำนักงานเขตหลักสี่ : มีค่าเท่ากับ 53 มคก./ลบ.ม.
17.เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 55 มคก./ลบ.ม.
#igreenstory #ฝุ่นควันพิษ