โรคไบโพลาร์ ภัยเงียบที่อาจพรากชีวิตคุณและคนใกล้ตัวคุณ

 ช่วงหลายปีนี้ เรามักเห็นข่าวผู้เสียชีวิตจากโรคซึมเศร้าสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ทราบไหมว่ายังมีอีกหนึ่งโรคที่คุกคามชีวิตได้ไม่น้อยไปกว่ากัน นั่นคือ“ไบโพลาร์” โรคทางจิตเวชที่มีผู้ป่วยทั่วโลกมากกว่า 60 ล้านคน จัดอยู่ในกลุ่มอาการความผิดปกติของอารมณ์ และถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากกว่าโรคซึมเศร้า  มีผลกระทบทำให้ผู้ป่วยทำร้ายตัวเองหรือร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายได้เลยทีเดียว

 

 การเข้าใจโรคดังกล่าวอย่างถ่องแท้ จึงเป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์เจ้าของแฟนเพจที่มีผู้ติดตามกว่าสามแสนคน มีผลงานเขียนด้านวิชาการ จิตเวช พัฒนาการเด็ก และระบบสุขภาพ รวมถึงผลงานเขียนเล่มล่าสุด หนังสือ ไบโพลาร์ โรคสองขั้ว จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ AMARIN Health คู่มือทำความรู้จักและเข้าใจโรคไบโพลาร์ฉบับครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุด ครอบคลุมทั้งการดูแลตัวเองและคนรอบข้างอย่างเหมาะสม และวิเคราะห์อาการของโรคได้อย่างถูกต้อง

           

นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ได้อธิบายถึงความแตกต่างของโรคทางจิตเวชทั้งสองว่า  “ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ต่อเนื่องยาวนาน มักมีลักษณะคิดช้า พูดช้า ทำช้า  ในขณะที่โรคไบโพลาร์ประกอบด้วย 2 ระยะคือระยะซึมเศร้า และระยะแมเนีย สลับกันไป ระยะแมเนีย (mania) มักมีลักษณะ คิดเร็ว พูดเร็ว ทำเร็ว อย่างไรก็ตาม การสลับระยะของโรคไบโพลาร์มีหลายรูปแบบมาก ความเข้าใจผิดที่ได้ยินบ่อยคือเข้าใจว่าการที่มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ หรืออ่อนไหวง่าย หรือหัวเราะสลับร้องไห้คือโรคไบโพลาร์ แต่แท้จริงแล้วการวินิจฉัยโรคซึมเศร้าหรือโรคไบโพลาร์ เราดูที่องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นกลุ่มอาการ บางเรื่องใช้การสังเกต แต่บางเรื่องต้องใช้การตรวจสภาพจิตโดยจิตแพทย์โดยตรงถึงจะสรุปอาการได้”

ความซับซ้อนของโรคไบโพลาร์นี้เอง ทำให้ถูกนิยามว่าเป็นโรคทางจิตเวชที่ถูกวิจัยมากที่สุด มีความเป็นชีวเคมีสูง ทั้งยังมีความก้าวหน้ารวดเร็วที่สุด การแบ่งประเภทของโรคจึงมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ  ทำให้การศึกษาเรื่องดังกล่าว ต้องใช้องค์ความรู้ที่ถูกต้องและเหมาะสมที่สุด

 นพ.ประเสริฐ ได้กล่าวถึงความท้าทายในการค้นคว้าเรื่องดังกล่าวว่า “ความท้าทายสำคัญในการถ่ายทอดความรู้เรื่องนี้มาเป็นงานเขียนหนังสือ ไบโพลาร์ โรคอารมณ์สองขั้ว ต้องใช้ตำราจิตเวชศาสตร์มาตรฐานฉบับล่าสุดคือ 2017 เป็นบรรทัดฐาน และคอยทวนสอบเรื่องที่เขียน งานที่ทำ ผู้ป่วยที่เคยรักษา และยาที่เคยใช้ ว่ายังคงเป็นไปตามมาตรฐานมากน้อยเพียงใดก่อนจะเขียน เพราะโรคนี้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตได้เท่ากับหรืออาจจะมากกว่าโรคซึมเศร้า  ยิ่งไปกว่านั้นโรคนี้ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้มากกว่าโรคซึมเศร้าอีกด้วย  และหลายครั้งที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงจนกระทั่งดูประหนึ่งเป็นคนเสียสติหรือมีอาการทางจิตขั้นรุนแรง แต่ที่จริงแล้วหากวินิจฉัยถูกต้องก็รักษาได้ นอกจากนี้การรักษาที่ไม่ได้ผลในบางครั้งเกิดจากการให้ยาที่ไม่สอดคล้องกับระยะและประเภทของโรคไบโพลาร์ที่เขาเป็น  หากประชาชนมีความรู้บ้างก็อย่าได้หมดกำลังใจ  การปรับยาให้ถูกระยะหรือถูกประเภทแม้ว่าจะเป็นเรื่องยากแต่ทำได้ และรักษาให้ขาดได้”

 

 การสังเกตอาการของตัวเองและคนใกล้ตัว จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม เพราะโรคไบโพลาร์สามารถพรากชีวิตเราได้ทุกเมื่อ หากไม่ได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และกำลังใจจากคนในครอบครัวก็เป็นสิ่งสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

 

รู้จักโรคอารมณ์แปรปรวนที่รักษาให้ขาดได้ เพียงรู้จักและเข้าใจอย่างแท้จริง ด้วยหนังสือ  คู่มือฟื้นฟูเส้นประสาทห่างไกลโรค (ฉบับทำได้ด้วยตัวเอง)  วางจำหน่ายแล้วที่ร้านนายอินทร์ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ ราคาเล่มละ 215 บาท หรือสั่งซื้อผ่าน www.amarinbooks.com