กมธ.สารสนเทศ วุฒิสภา ประชุม Work From Home ติดตามงานร่วมแก้ปัญหา covid 19

 กรรมาธิการเทคโนโลยี สารสนเทศการสื่อสาร เเละโทรคมนาคม วุฒิสภาซึ่ง มี พลเอกอนันตพร  กาญจนรัตน์ ประธานคณะกรรมาธิการ ได้เป็นประธานการประชุม โดยใช้การทำงาน เเบบ Work from Homeด้วยการใช้ ระบบ E-Meeting   ผ่านระบบ สื่ออิเลคโทรนิคเป็นการประชุมทางไกลโดยมี กรรมาธิการ เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วย กมธ.ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพฯเเละต่างจังหวัด

การประชุมครั้งนี้กมธ.ได้ศึกษา เรื่องกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงทางไซเบอร์เเละการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้ ตระหนักว่าหากมีผู้ละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลจะมีโทษทั้งอาญา รวมทั้งทางแพ่งและปกครอง  ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ใน 2 เดือนข้างหน้า

อีกเรื่องได้เดินหน้าศึกษาหาทางให้ประชาชน ได้ใช้เน็ตฟรี เเละปรับแผนICTช่วงวิกฤตโควิด19 ระบาดนี้


 
โดยที่ประชุมได้รับทราบสาระของพ.ร.บ. 2 ฉบับที่มีความสำคัญ ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการ ได้เสนอผลการศึกษา ได้แก่ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ. ศ. 2562 กับพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ. ศ. 2562 ซึ่งจะมีบังคับใช้ตั้งแต่ 28 พฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป
   


พ.ร.บ.ไซเบอร์มุ่งป้องกัน รับมือและลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐและความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ รวมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย 

มีโครงสร้างที่สำคัญ เช่น  คณะกรรมการ รักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน, คณะกรรมการกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, คณะกรรมการบริหารสำนักงานคณะกรรมการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เป็นต้น  

ขณะนี้การดำเนินการ อยู่ในขั้นตอนการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นกรรมการชุดต่างๆ การจัดตั้งสำนักงาน และการออกกฎหมายลำดับรองมาใช้บังคับ 

ส่วนพ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล มุ่งหมายเพื่อคุ้มครองมิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิ์ความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล อันเป็นการสร้างความเดือดร้อนหรือความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล กำหนดโครงสร้างที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, คณะกรรมการกำกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล, สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การร้องเรียน การลงโทษทางอาญา ทางปกครองกับผู้ที่ละเมิดสิทธิ์ และเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิ์ จะได้รับค่าสินไหมทดแทนทางแพ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที27พฤษภาคม 2563 นี้

นอกจากนี้ ทางกมธ. ได้อนุมัติ ให้เผยเเพร่รายงานการศึกษาประโยชน์ของประเทศไทยกับการใช้เทคโลยี 5G 
ของ อนุกรรมาธิการ เทคโนโลยีเเละการสื่อสารด้วย

นอกจากนี้ประธาน กมธ.พลเอกอนันตพร กาญจนรัตน์ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาดำเนินการ ในการประชุมครั้งหน้าดังต่อไปนี้
   
-ให้ ประสานเชิญตัวแทน CAT  เเละ TOT มาอธิบายเรื่องICT ว่าจะใช้ประโยชน์ ของ ICT มาช่วยสื่อสารการรักษาพยาบาลโรคโควิด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในงานทางเเพทย์ ได้อย่างไร และมอบหมายงานให้แต่ละอนุกรรมาธิการดำเนินงาน ดังต่อไปนี้

1.การใช้อินเทอร์เน็ตฟรี ในช่วงสถานการณ์ โควิด (กสทช.)

2.ความคืบหน้าควบรวม CAT TOT การปรับแผนหรือกรอบเวลาการควบรวมรองรับสถานการณ์โควิด

3.ศึกษา พ.ร.บ.ความมั่นคงไซเบอร์ และพ.ร.บ.ข้อมูลI ส่วนบุคคล

4.เรื่องปรับแผนและยุทธศาสตร์รองรับสถานการณ์โควิด