SPU เปิดเวที Tom's Talk..."Happy Learning" Vision นอกกรอบ "โรงเรียนแห่งความสุข"



มหาวิทยาลัยศรีปทุม เปิดเวทีเสวนาสุดพิเศษ Tom's Talk..."Happy Learning" "เรียนอย่างมีสุข ... ปลุกความคิดสร้างสรรค์และพลังการเรียนรู้ ของนักเรียนยุคใหม่" กับ ดร.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผอ.โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

 

คณะวิศวกรรมศาสตร์  ร่วมกับ ศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดเวทีเสวนา Tom's Talk..."Happy Learning" หัวข้อ “เรียนอย่างมีสุข ... ปลุกความคิดสร้างสรรค์และพลังการเรียนรู้ ของนักเรียนยุคใหม่" กับ ดร.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผู้อำนวยการโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยกับ Vision นอกกรอบ "โรงเรียนแห่งความสุข" ละลายสายวิทย์-ศิลป์ แต่งไปรเวท มุ่งสู่อวกาศโดยมี ผศ.ดร.ชลธิศ เอี่ยมวรวุฒิกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นผู้ร่วมดำเนินการเสวนา เพื่อถ่ายทอดความรู้และแชร์ประสบการณ์แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยการเปลี่ยนครูเป็นโค้ช เปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ ได้ทดลองทำ นำไปสู่การเรียนรู้อย่างมีความสุข ณ ห้องเธียเดอร์ ชั้น 3 อาคาร 11 มหาวิทยาลัยศรีปทุม  กทม.(บางเขน)

 

 ดร.ศุภกิจ จิตคล่องทรัพย์ ผอ.โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย เล่าตอนหนึ่งว่า การเล่นเครื่องดนตรี ทูบ้า เริ่มจากทรัมเปต มีแต่คนอยากเล่นทรัมเปต แต่ ทูบ้า เป็นเสียงทุ้ม คุมจังหวะของวง ตอนนั้นไม่มีคนเล่น จึงเลือกเครื่องดนตรีชิ้นนี้  ขณะเรียน เป็นนักกิจกรรม วงโยธวาธิต สายศิลป์คำนวน เริ่มเรียน กรุงเทพคริสเตียนมาตั้งแต่ประถม เรียนห้อง 3 จาก 8 ห้อง ห้อง 1 คือห้องคิง วิชาที่ชอบและทำได้ดีคือ ดนตรี และ ภาษาไทย ชอบเขียนเรียงความ พรรณา เกิดคำถามกับกฏระเบียบ เรื่องการตัดผม ว่าทำไมครูไม่ถามเด็ก ด้านวิชาการ คิดว่าครู มีบทบาทสูงที่สุด ครูคนไหนที่สร้างเสน่ห์ให้วิชาตัวเองได้ เด็กจะเกิดแรงบันดาลใจในการเรียน คาบแรก สำคัญที่สุดในการสร้างความประทับใจ เหมือนการเล่นดนตรี เพลงแรก กับเพลงสุดท้าย สำคัญที่สุดเช่นกัน

ตอนแรกเรียนบัญชี ครูที่สอน คาบแรก ดึงความสนใจเด็ก นศ. โดยบอกความสำคัญของบัญชี กับอาชีพ รู้ว่าเรียนแล้วเอาไปทำอะไร เข้าใจในเป้าหมาย  คาบแรก เอาเด็กอยู่ ทำให้ ผอ.ทอม เรียนบัญชีมาถึง ปี 3  ครูมีส่วนชี้นำ ว่า แต่ละวิชาเรียนไปทำไม กระทรวง บังคับให้เขียนแผน แต่ครูเขียนไม่ถูกเพราะไม่มีคำว่า รู้และเข้าใจ มาจาก Know & Understand  ช่วงมหาลัย ไปออกค่ายอาสา เจอครูใหญ่ ใส่ชุดข้าราชการ นอนอยู่ในโรงยิม ผอ.ทอม เขียนจดหมายส่ง ปปช. เป็นเวลา 2 ปี เพื่อร้องเรียน จนผอ. คนนั้นโดนย้าย ไปออกค่ายอาสา ที่ขอนแก่น ถาม นร.ว่าอยากทำอะไร นร.บอกว่า อยากไปทะเล /อยากกินแอปเปิ้ล  สอบเสร็จเลยซื้อไปให้ ครูทอม รู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า เป็นจุดเริ่มต้นว่าอะไรที่เราทำแล้วมีความสุข รู้สึกว่าการเรียน มหาลัยสมัยก่อน ที่เป็นนักดนตรี โดนบังคับให้เรียน ลีลาศ เพราะมหาลัยให้ Safe ตัวเอง กลัวเกิดอุบัติเหตุ  เป็นครูโดยไม่ตั้งใจ จริงๆอยากเป็นนักดนตรีกลางคืน อยากเป็นนักแต่งเพลง แต่ไม่มีวง ตอนเรียนจบที่BBC ครูดนตรีจะเกษียณ จึงชวนมาเป็น ครูพิเศษ ผอ. เห็นว่า เข้าทางเพราะรู้วิธีกำราบเด็ก  ช่วงแรกที่เข้าไปสอน รู้สึกเบื่อ เพราะงานหลักคือดูแลวงดุริยางค์ ซึ่งจะเป็นช่วงเย็น รู้สึกว่าว่างและไม่มีความสุข นิยามคำว่า “ความสุข” คือการสร้างสิ่งที่ทำให้ตัวเอง มีความสุข ในจุดที่ตัวเองอยู่ เช่น ทำเพลงรุ่น ได้ใช้ Skill การแต่งเพลง การใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เอาสิ่งที่ตัวเองชอบ  ไปเสนอ รร.ให้เป็น Project  หาให้เจอ ว่าอะไรทำให้ตัวเองมีความสุข

ดร.ศุภกิจ เล่าต่อว่า ไปเรียนต่อ Educational LeaderShip บริหาร/พัฒนาความเป็นผู้นำ การเรียนการสอนในอดีต เรื่องการท่องจำ ไม่ใช่ว่าไม่ดี แต่จุดอ่อนของการท่องจำ มีอะไรก็เสริมเข้าไป ประเด็นคือ ทำยังไง ให้เอาไปใช้ให้เป็น สำคัญคือให้เด็กสามารถนำไปใช้ได้  จุดอ่อนของ ป.ไทย คือ เปลี่ยนระบบบ่อย โดยที่ยังไม่ได้ให้เวลากับการ รีเสิชเช่น การห้ามตี ทำไมถึงห้ามตี  ตอนนี้เด็กจบ ม. 6 ที่เกรดเฉลี่ย ไม่ถึง 3 มีอยู่น้อย ไม่ใช่ว่าเด็กเก่งขึ้น แต่นโยบาย ไม่ให้ เด็กตก จึงทำให้ ครูไม่อยากมีปัญหา การคิดแทนผู้บริหารไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น Keyword คือ สภาพแวดล้อมทุกอย่าง มันเริ่มได้จากคนๆเดียว ถ้าเราทำมันจะเป็นจุดสะท้อนให้คนอื่นทำตาม อย่ามัวแต่รอว่า นโยบายจะต้องดี ต้องเริ่มที่ตัวเอง เราก็จะมีความสุขเพราะเราจะไม่อึดอัด ไม่ต้องไปคาดหวังกับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เพราะถ้าเราเห็นเด็กมีความสุข เราจะมีความสุขยิ่งกว่า

เราเป็นครู เรารู้ว่าอะไรที่ทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียน เริ่มจากวิชา จริยธรรม ที่ตัวเองสอนแล้ว กลายเป็น Talk of the Town เมื่อก่อน เด็กจะต้องเข้าไปฟังครู 1 คน ที่หอธรรม จึงลอง Design เช่น บทเรียนสอนให้อนุรักษ์ธรรมชาติ ก็เอาปืนล่าสัตว์มาโชว์ เด็กก็ตื่นเต้น แล้วค่อยตะล่อมเข้ามาสู่บทเรียน ให้วิพากษ์กัน นี่แหละคือ Child Center หลักการคือ ลองทำดู แล้วถ้ามันไม่ใช่ค่อยหยุด ตอนชุดไปรเวท ก็โดนต่อต้าน ว่าเด็กจะเหลื่อมล้ำทางสังคม บางคนรวย บางคนจน แต่หลักการคือ มันคือสภาพความเป็นจริงทางสังคม พอลองทำดูแล้วเด็ก Happy  ผอ. ทอม เป็น ผอ.ที่ อายุน้อยที่สุดใน Candidate ตำแหน่ง ที่มีความสุขที่สุด คือ รองผอ. เพราะว่ารุ้สึกว่า ยังมี Back  Vision ที่เสนอ คือ ต้องสร้างความแตกต่างว่าดีกว่า รร.รัฐบาล เพราะเป็น รร.เอกชน ไม่มีเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ค่าเทอมจึงแพงกว่า เป้าหมายไม่ใช่เด็กเก่ง แต่ ในต่างประเทศ หากพูดถึง รร. มัธยม สักแห่งในประเทศไทย ต้องพูดถึง กรุงเทพคริสเตียน

Vision ใหม่ คือ School For The future เฟส 2 คือ School of Happiness เด็ก ฟินแลนด์ อัตราการเข้ามหาลัย 30% แต่ไทย เข้าทั้งหมด บริบทมันจึงต่างกัน ฟินแลนด์ปรับหลักสูตรเพราะว่า เกิดปัญหาเกิดจากการทำวิจัยมีอัตราการฆ่าตัวตายสูง ผลวิจัยชิ้กมาว่าต้องแก้ไขการศึกษา เรื่องการแต่งไปรเวท ที่ รร. ทำ รีเสิช ความตั้งใจ อยากให้ BCC เป็น รีเสิช Center สำหรับนักเรียน พอแต่งแล้ว นักเรียนมีความสุข สิ่งอื่นๆก็จะตามมา  Massage to Alumni ทำแปลอักษร ส่งเป็น Massage ถึงรุ่นพี่ BCC Sat 1BBC Space Program  ดาวเทียม ที่ นร. จะทำ คนที่มาเสนอ IDEA เป็นคนที่ได้ทุนจากรัฐบาลไทย ไปเรียนที่ U Of Tokyo เอา Project มาเสนอ รร.ต่างๆไม่มี ที่ไหนรับ แต่ ดร.ทอมว่า เด็กไทย มีศักยภาพเพียงพอ ไม่เกิน 10 ปี ทุกมหาวิทยาลัย จะมีดาวเทียมเป็นของตัวเอง

ดร.ทอมมองว่าจุดนี้ เป็นจุดที่จะเหนือกว่า รร.อื่นๆ Project นี้ ต้องใช้เงิน 30 ล้าน  เราจึงอยากทำให้ ดาวเทียมดวงนี้ เป็นของทุกๆคน Track program Pain Point คือ เด็กเก่ง จะขาด Soft Skill BCC Next  รร.รุ่นใหม่ไม่ใช่ ห้องสี่เหลี่ยม ต่อไปจะทำกับเด็กประถม Multiple Intelligent พอมา รร.แล้วสนุก ก็จะอยากมา รร. คือ ทำ รร.ให้น่าเรียน Insprie นักเรียน คือ ให้ นร.ได้ลอง BCC ไม่จำเป็นต้องรอให้ค้นหาตัวเองเจอตอนมหาวิทยาลัย สามารถสร้างให้เด็ก เป็น Young SME  เทรนครูให้เป็น โค้ช เรียนที่ไหนก็ได้ ดีไซน์ หลักสูตร ร่วมกับ มหาลัย ไม่ต้องแบ่งสาย วิทย์ ศิลป์ คนไทย สอนให้ คว้าความสำเร็จก่อนความสุข แต่จริงๆ ถ้ามีความสุข ความสำเร็จก็จะตามมา

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ