“รัฐธรรมนูญ 2560 จำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่”



ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “รัฐธรรมนูญ 2560 จำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 11 – 12 กรกฎาคม 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,504 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ   (Stratified  Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 37.04 ระบุว่า จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน เพราะ การได้มาของ นายกรัฐมนตรี และ ส.ว. ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย ไม่มีความยุติธรรม ไม่แตกต่างกับการรัฐประหาร ขัดกับความต้องการของประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพ เกิดความวุ่นวายขึ้นในสภาฯ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป อยากให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้ รองลงมา ร้อยละ 17.15 ระบุว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีแล้ว ควรแก้ไขที่ตัวบุคคลมากกว่าแก้ที่รัฐธรรมนูญ ร้อยละ 13.43 ระบุว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยแก้ไข ร้อยละ 10.90 ระบุว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ และร้อยละ 21.48 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

โดยในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยแก้ไข พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.56 ระบุว่าควรใช้รัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลา 1 ปี รองลงมา ร้อยละ 23.76 ระบุว่า ต่ำกว่า 1 ปี และ 2 ปี ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.47 ระบุว่า 3 ปี ร้อยละ 2.97 ระบุว่า 5 ปี ขึ้นไป และร้อยละ 2.48 ระบุว่า 4 ปี

ส่วนในจำนวนของผู้ที่ระบุว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 43.29 ระบุว่า ควรใช้รัฐธรรมนูญเป็นระยะเวลา 1 ปี รองลงมา ร้อยละ 27.44 ระบุว่า 2 ปี ร้อยละ 21.34 ระบุว่า ต่ำกว่า 1 ปี ร้อยละ 4.27 ระบุว่า 3 ปี ร้อยละ 2.44 ระบุว่า 4 ปี และร้อยละ 1.22 ระบุว่า 5 ปี ขึ้นไป   

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไข หากจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (เฉพาะผู้ที่ตอบว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน และควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ และหรือค่อยแก้ไข) พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 56.01 ระบุว่า ประเด็นที่มาและอำนาจสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) รองลงมา ร้อยละ 42.90 ระบุว่า ประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี ร้อยละ 40.52 ระบุว่า ประเด็นการปฏิรูปประเทศ ร้อยละ 39.00 ระบุว่า ประเด็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส. ร้อยละ 25.24 ระบุว่า ประเด็นแนวนโยบายแห่งรัฐ ร้อยละ 0.54 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ที่มาของ กกต. กฎหมายการจัดตั้งองค์กรอิสระ (ซึ่งขาดความยุติธรรม) ขณะที่บางส่วนระบุว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด และร้อยละ 5.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

       เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.98 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.86 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.15 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.56 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.27 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.73 เป็นเพศหญิง

ตัวอย่างร้อยละ 7.38 มีอายุ 18 – 25 ปี ร้อยละ 17.42 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 23.27 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 32.58 มีอายุ 46 – 59 ปี และร้อยละ 19.35 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 94.22 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.92 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.60 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 1.26 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 22.60 สถานภาพโสด ร้อยละ 72.41 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.66 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.33 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส

ตัวอย่างร้อยละ 28.46 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.85 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.65 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.73 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 5.71 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุการศึกษา 

ตัวอย่างร้อยละ 11.17 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.29 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 17.55 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 15.76 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 16.49 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.28 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.46 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.07 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 1.93 ไม่ระบุอาชีพ 

ตัวอย่างร้อยละ 18.82 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 22.41 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 24.34 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 10.97 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 5.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 8.37มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 9.37 ไม่ระบุรายได้

  1.  ท่านคิดว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน 2560 จำเป็นต้องแก้ไขหรือไม่

ความคิดเห็นของประชาชนต่อความจำเป็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560

ร้อยละ

จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน เพราะ การได้มาของ นายกรัฐมนตรี และ ส.ว. ที่ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย  ไม่มีความยุติธรรม ไม่แตกต่างกับการรัฐประหาร ขัดกับความต้องการของประชาชนในการใช้สิทธิเสรีภาพ  เกิดความวุ่นวายขึ้นในสภาฯ เอื้อประโยชน์ให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป อยากให้นำรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 กลับมาใช้

37.04

ไม่จำเป็นต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะ ได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลายครั้ง ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีแล้ว

ควรแก้ไขที่ตัวบุคคลมากกว่าแก้ที่รัฐธรรมนูญ

17.15

ควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยแก้ไข

13.43

- ต่ำกว่า 1 ปี

23.76

 

- 1 ปี

43.56

 

- 2 ปี

23.76

 

- 3 ปี

3.47

 

- 4 ปี

2.48

 

- 5 ปี ขึ้นไป

2.97

 

ควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่

10.90

- ต่ำกว่า 1 ปี

21.34

 

- 1 ปี

43.29

 

- 2 ปี

27.44

 

- 3 ปี

4.27

 

- 4 ปี

2.44

 

- 5 ปี ขึ้นไป

1.22

 

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

21.48

รวม

100.00

       

 

  1.  หากจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ท่านคิดว่าควรแก้ไขในประเด็นใด (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

(เฉพาะผู้ที่ตอบว่าต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างเร่งด่วน และควรใช้รัฐธรรมนูญไปสักระยะหนึ่งก่อนแล้วค่อยตัดสินใจว่าควรแก้ไขหรือไม่ และหรือค่อยแก้ไข n = 923)

ความคิดเห็นของประชาชนต่อประเด็นที่ต้องได้รับการแก้ไข หากจำเป็นต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ร้อยละ

ประเด็นที่มาและอำนาจสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)

56.01

ประเด็นที่มาของนายกรัฐมนตรี

42.90

ประเด็นการปฏิรูปประเทศ

40.52

ประเด็นระบบการเลือกตั้ง ส.ส.

39.00

ประเด็นแนวนโยบายแห่งรัฐ

25.24

อื่น ๆ ได้แก่ สิทธิและเสรีภาพของประชาชน ที่มาของ กกต. กฎหมายการจัดตั้งองค์กรอิสระ (ซึ่งขาดความยุติธรรม) ขณะที่บางส่วนระบุว่า แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด

0.54

ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

5.53

 

 

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง

 

ตารางที่ 1 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามภูมิภาค

ภูมิภาค

จำนวน

ร้อยละ

กรุงเทพฯ

135

8.98

ปริมณฑลและภาคกลาง

389

25.86

ภาคเหนือ

273

18.15

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

503

33.45

ภาคใต้

204

13.56

รวม

1,504

100.00

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามเพศ

  •  

จำนวน

ร้อยละ

ชาย

726

48.27

หญิง

778

51.73

รวม

1,504

100.00

 

ตารางที่ 3 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอายุ

อายุ

จำนวน

ร้อยละ

18 – 25 ปี

111

7.38

26 – 35 ปี

262

17.42

36 – 45 ปี

350

23.27

46 – 59 ปี

490

32.58

60 ปี ขึ้นไป

291

19.35

ไม่ระบุ

รวม

1,504

100.00

 

ตารางที่ 4 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามศาสนา  

ศาสนา

จำนวน

ร้อยละ

พุทธ

1,417

94.22

อิสลาม

59

3.92

คริสต์ และอื่น ๆ

9

0.60

ไม่ระบุ

19

1.26

รวม

1,504

100.00

 

ตารางที่ 5 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามสถานภาพการสมรส

สถานภาพการสมรส

จำนวน

ร้อยละ

โสด

340

22.60

สมรส

1,089

72.41

หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่

55

3.66

ไม่ระบุ

20

1.33

รวม

1,504

100.00

 

 

ลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง (ต่อ)

 

ตารางที่ 6 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามระดับการศึกษา

ระดับการศึกษา

จำนวน

ร้อยละ

ประถมศึกษา/ต่ำกว่า

428

28.46

มัธยมศึกษา/เทียบเท่า

449

29.85

อนุปริญญา/เทียบเท่า

115

7.65

ปริญญาตรี/เทียบเท่า

402

26.73

สูงกว่าปริญญาตรี/เทียบเท่า

86

5.71

ไม่ระบุ

24

1.60

รวม

1,504

100.00

 

ตารางที่ 7 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามอาชีพหลัก

อาชีพหลัก

จำนวน

ร้อยละ

ข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ

168

11.17

พนักงานเอกชน

230

15.29

เจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ

264

17.55

เกษตรกร/ประมง

237

15.76

รับจ้างทั่วไป

248

16.49

พ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน

275

18.28

นักเรียน/นักศึกษา

52

3.46

องค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร

1

0.07

ไม่ระบุ

29

1.93

รวม

1,504

100.00

 

ตารางที่ 8 แสดงจำนวน และร้อยละของผู้ตอบแบบสอบถาม จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน

รายได้เฉลี่ยต่อเดือน

จำนวน

ร้อยละ

ไม่มีรายได้

283

18.82

ไม่เกิน 10,000

337

22.41

10,001 – 20,000

366

24.34

20,001 – 30,000

165

10.97

30,001 – 40,000

86

5.72

40,001 ขึ้นไป

126

8.37

ไม่ระบุ

141

9.37

รวม

1,504

100.00