รัฐมนตรีที่ควรเฝ้าจับตามอง



ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “รัฐมนตรีที่ควรเฝ้าจับตามอง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 13 – 14 มิถุนายน 2562 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,256 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับรัฐมนตรีที่ควรเฝ้าจับตามอง ในรัฐบาล ชุดใหม่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก  (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาค  สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0

      

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อตำแหน่งรัฐมนตรีที่สำคัญมากที่สุดในรัฐบาลชุดใหม่ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 41.16 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 19.82 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ อันดับ 3 ร้อยละ 17.68 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ อันดับ 4 ร้อยละ 16.88 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม อันดับ 5 ร้อยละ 15.53 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 6 ร้อยละ 14.17 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อันดับ 7 ร้อยละ 13.69 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อันดับ 8 ร้อยละ 11.70 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อันดับ 9 ร้อยละ 9.79 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อันดับ 10 ร้อยละ 6.61      ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อันดับ 11 ร้อยละ 6.13 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม อันดับ 12 ร้อยละ 3.34 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อันดับ 13 ร้อยละ 2.79 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

 

และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในสัดส่วนที่เท่ากัน อันดับ 14 ร้อยละ 1.67 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อันดับ 15 ร้อยละ 1.43 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน อันดับ 16 ร้อยละ 1.35 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา อันดับ 17 ร้อยละ 0.56 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อันดับ 18 ร้อยละ 0.48 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม อันดับ 19 ร้อยละ 0.40 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอันดับ 20 ร้อยละ 0.32 ระบุว่าเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม

 

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงลักษณะของบุคคลที่ไม่ควรให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 52.39 ระบุว่าเป็น บุคคลที่มีข่าวหรือภาพลักษณ์ในอดีตไม่โปร่งใส ไม่ซื่อสัตย์ รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 39.89 ระบุว่าเป็น บุคคลที่ไม่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมกับตำแหน่งรัฐมนตรีที่ได้รับ อันดับ 3 ร้อยละ 27.31 ระบุว่าเป็น บุคคลที่อาจมีผลประโยชน์ทับซ้อน (เช่น คนที่มีธุรกิจหรือมีคนในครอบครัว ญาติพี่น้อง ทำธุรกิจเกี่ยวพันกับกระทรวงที่จะเข้าไปดูแล) อันดับ 4 ร้อยละ 24.92 ระบุว่าเป็น บุคคลที่มีชื่อเสียงว่าเป็นเจ้าพ่อ มาเฟีย ผู้มีอิทธิพล อันดับ 5 ร้อยละ 16.72 ระบุว่าเป็น บุคคลที่มีชื่อเสียงว่าสนใจแต่ผลประโยชน์ของจังหวัดของตนเองมากกว่าของทั้งประเทศ อันดับ 6 ร้อยละ 13.38 ระบุว่าเป็น บุคคลที่เคยเป็นรัฐมนตรีมาก่อนแต่ไม่มีผลงานอะไรเลย อันดับ 7 ร้อยละ 5.65 ระบุว่า ไม่ทราบ/ไม่ตอบ/ไม่สนใจ อันดับ 8 ร้อยละ 3.74 ระบุว่าเป็น บุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ และอันดับ 9 ร้อยละ 0.24 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ บุคคลที่หมิ่น/โจมตีสถาบัน และบุคคลที่เข้าข้างพวกพ้องตนเองมากกว่าส่วนรวม