ขยาย OTOP ไทยในต่างแดน

กรมการพัฒนาชุมชน นำทัพผู้ประกอบการ OTOP ทดสอบตลาดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Thai OTOP Product – Thai Food Festival”

นายกิติพล เวชกุล ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน เป็นประธานในงานกิจกรรมทดสอบตลาด “Thai OTOP Products Open Market to The Middle East ในโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐานตามกลุ่มคลัสเตอร์ประเภทอาหารและประเภทเครื่องดื่ม ระหว่างวันที่ 7 – 10 กันยายน 2566

ณ บริเวณตลาดThai Souq in Souk Al Marfa ณ นครดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

นายกิติพล เปิดเผยว่า การจัดงาน “Thai OTOP Product – Thai Food Festival” ณ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนา (Quadrant D) ให้มีคุณภาพมาตรฐาน ตามกลุ่มคัตเตอร์ โดยกรมการพัฒนาชุมชนได้เปิดโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ประเภทอาหารและเครื่องดื่มจำนวน 96 ผลิตภัณฑ์ จาก 963 ผลิตภัณฑ์ในโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าสู่การพัฒนาอย่างครบวงจร

โดยยึดหลักการตลาดนำการผลิต ตลอดจนการส่งเสริมการขายทั้งตลาดออฟไลน์ และออนไลน์เพื่อขยายฐานลูกค้า รวมไปถึงสร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึงได้ทั้งลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้ได้นำผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ จำนวน 3 ราย ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ทาร์ตเนยสดผลไม้ จังหวัดสมุทรปราการ , ผลิตภัณฑ์ผงมัสมั่นสำเร็จรูป จังหวัดเชียงใหม่ , ผลิตภัณฑ์เยลลี่ส้มโอ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้นำนวัตกรรมที่ทันสมัยออกไปอวดโฉมให้ลูกค้าชาวไทยและต่างชาติ

เพื่อขยายฐานลูกค้าสร้างโอกาสให้สามารถเข้าถึง ผลิตภัณฑ์ได้มากขึ้น ทั้งนี้ได้มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นรวม จำนวน 96 ผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมาจัดแสดงจำหน่าย ชม ชิม ให้กับผู้เข้าร่วมงานได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์ในโครงการ เพื่อเปิดตลาดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากตลาดอาหารและเครื่องดื่มในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นตลาดที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ด้วยจากหลากหลายปัจจัย ทั้งรายได้ประชากรต่อหัวที่อยู่ในระดับสูง การเพิ่มขึ้นของกำลังแรงงาน ความนิยมในการบริโภคเครื่องปรุงรสและอาหารไทยในอันดับต้น ๆ

และเห็นว่าศักยภาพของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นจุดเริ่มต้นในการเจาะตลาดตะวันออกกลาง เพราะนอกจากการเข้าถึงตลาดในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ยังมีโอกาสในการเข้าถึงตลาดตะวันออกกลางที่ชื่นชอบอาหารไทย

 

อาทิ ประเทศซาอุดิอาระเบีย โอมาน กาตาร์ ซึ่งมีโอกาสในการขยายตลาดที่ดีต่อไปในอนาคต