"อย่ามาปลูกป่าเลย"

เป็นคําพูดของชาวเขาชนเผ่าท่านหนึ่งที่ผมขึ้นดอยไปพบเมื่ออาทิตย์ก่อน 

ข้อมูลเเละความคิดพรั่งพรูออกมาจากเเกจนผมได้เเต่พูดว่า ครับ ครับ เเต่ที่นิ่งๆไม่ขัดเพราะเขาพูดตรงใจกับที่ผมคิดเเละเห็นมา

ผมทําวิจัยด้านดินถล่มมานาน ทุกที่ที่ไปสํารวจจะพบเเต่ "เปลือกป่า" คือตามข้างถนนก็จะเห็นเป็นต้นไม้สูงใหญ่เเน่นหนา ลองเลี้ยวเข้าไปในซอยผ่านไปไม่กี่ร้อยเมตรก็จะพบความเป็นจริง

บางที่เช่นที่ลับเเล หรือ นํ้าปาดอุตรดิตถ์ ที่เห็นเขียวชอุ่มต้นไม้ทึบ เเต่ต้องดูดีๆครับ เป็นต้นไผ่ ต้นกล้วย หรือพืชรากตื้นหรือเปล่า พอดูความหนาหน้าดิน บางนิดเดียว สืบประวัติคือเคยเป็นที่เเผ้วถามมาเมื่อเกือบ 50 กว่าปีมาเเล้ว เเล้วก็มาโตเป็นป่า เเต่ไม่ใช่ป่าที่มีคุณภาพ 

คําถามคือสิ่งที่เราเห็นกับสิ่งที่ชาวบ้านเห็นเหมือนกันไหม

เราเห็นเป็นป่า ชาวบ้านไม่ได้เห็นเป็นป่า "ถางกับไม่ถางก็เหมือนกัน"

กลับขึ้นมาบนดอยดีกว่า

"คนกรุงเทพฯคนเมืองมาปลูกป่า ไม่เห็นมีประโยชน์อะไร ถามว่าชาวบ้านได้อะไร" ชาวเขาท่านนั้นพูดต่อ คงกําลังอึดอัดพวกที่ชอบมาทํา CSR เล้วก็ไป บังเอิญผมก็หน้าตาเป็นคนเมือง ก็เลยโดนใส่ใหญ่

"มาปลูกๆ ถ่ายรูป กลับไปก็ตาย ปลูกหน้าร้อนจะไปรอดหรือ ใครจะมารดนํา" อันนี้ผมไม่เถียงสักเอะเลยครับ เพราะเห็นมากับตา

ผมเคยไปสํารวจดินถล่มเเถวภูเขาเมืองกาญจน์ เป็นป่าที่ถูกเเผ้วถางมาก่อน ขึ้นไปบนยอดสันเขาก็พบเเนวต้นไม้ต้นขนาดสูงครึ่งตัวคน ยืนต้นเหมือนคนใกล้ตาย คือต้นไม้ที่เขามาทํา CSR ปลูกป่าครับ ผมว่าอีกสักสองเเดดก็น่าจะกลับบ้านเก่า เช่นกันครับเสียงชาวเขาเเว่วเข้ามา "ปลูกป่าเเล้วชาวบ้านได้อะไร"

"อย่ามาพูดเรื่องโลกร้อน เเอลนีโย่ ลานินญ่า อะไรเลย ไม่รู้เรื่อง พูดว่าเย็นนี้จะกินอะไรดีกว่า"  เเกพูดต่อ

"ทําไมไม่ปลูกอะไรที่ชาวบ้านเขาใช้ได้ เขาได้ประโยชน์ สองสามปีใช้ประโยชน์จากมันได้ มาปลูกอะไรกัน เเล้วก็ห้ามชาวบ้านเข้าไปใช้พื้นที่"


อันนี้ผมเห็นด้วย เพราะอะไรรู้ไหมครับ

ผมเคยสนทนากับอาจารย์คณะวนศาสตร์ท่านหนึ่งของ ม.เกษตรฯ ปัจจุบันมีตําเเหน่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย ท่านเห็นผมทําวิจัยด้านดินถล่ม วันนึงขณะนั่งรถไปด้วยกันท่านก็เปรยว่า "อาจารย์ว่าเมื่อร้อยปี สองร้อยปีที่เเล้วมีดินถล่ม มีนําป่าไหลหลากไหม" ผมตอบว่าโดยหลักภูเขาก็ต้องผุพังก็คงมีเเต่น่าจะมีจํานวนน้อยกว่านี้ "เเล้วเมื่อก่อนมีป่าไหม เเล้วป่าดีกว่านี้ไหม" ครับใช่ครับ เเสดงว่าดินถล่ม นําป่าไหลหลากนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ

ไม่กี่ปีต่อมาผมก็เห็นกับตา ทั้งที่เกาะระ จ.พังงา หรือที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ต้นไม้หนาเเน่นเเทบจะปีนขึ้นเขาไปไม่ได้ เเต่ดินถล่มลงมามโหฬาร เนื่องจากฝนตกลงมามากเหลือเกิน

ดังนั้นการปลูกป่าเป็นสิ่งดี เเต่ไม่ใช่จะเเก้ปัญหาได้ทั้งหมด เหตุการณ์ใหญ่ๆก็ยังคงจะมีตามธรรมชาติของเขา

เเต่อย่างน้อยการปลูกป่า ในกรณีที่ฝนตกตามปกติก็พอจะช่วยลดการพิบัติได้

อาจารย์ท่านเดียวกันก็ให้เเนวคิดกับผมต่อว่า "ทําไมเราไม่หาประโยชน์จากป่า" "ตัดไม้ไปขาย" ผมงงเล็กน้อยเมื่อได้ยินคําพูดนี้จากอาจารย์ที่ควรจะอยู่ฝั่งอนุรักษ์ "ทําอุตสาหกรรมป่าไม้สิครับ วางเเผนปลูกเป็นเป็นเเปลงๆ ถ้าได้อายุก็ตัดไปขาย" ผมเริ่มเข้าใจ "ไปปิดป่าไม่ให้ชาวบ้านเข้า เเล้วชาวบ้านได้ประโยชน์อะไร" เกิดพื้นที่ทับซ้อน เกิดความขัดเเย้งระหว่างชาวบ้านกับเจ้าหน้าที่รัฐ 

ปิดป่าเเล้วใครจะดูเเลป่าครับ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ เจ้าหน้าที่อุทยาน มีกี่คนครับ หนึ่งคนดูพื้นที่กี่ร้อยกี่พันไร่ นี่คือความเป็นจริง 

ป่าชุมชน คือตัวอย่างทางออก ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากป่าได้ เป็นหูเป็นตาถ้าจะมีใครเข้าไปทําลายเเหล่งรายได้เขา

กลัวนายทุนจะมาอยู่เบื้องหลังหรือครับ นายทุนคือใครครับ ชาวบ้านคือใครครับ ชาวบ้านเป็นนายทุนได้ไหม นายทุนทําผลประโยชน์ให้รัฐไหม อย่าให้คําพูดที่ใช้เรียกชักจูงเราให้คิดไปก่อน นายทุนต้องไม่ดีใช่ไหม ชาวบ้านต้องจนเเละน่าสงสารใช่ไหม

กลับมาหาคําตอบบนดอยดีกว่าครับ

ชาวเขาท่านเดิมที่ผมนั่งคุยด้วย ต้นตระกูลอยู่บนดอยนี้มานานเเล้ว คุยไปคุยมารายได้ก็ไม่น้อย เเกปลูกกาเเฟด้วย รับซื้อด้วย หน้าเเล้งที่บ้านเเกมีบ่อใหญ่ ก็ให้คนในหมู่บ้านมาเอานํ้าไปใช้ 

เรานิยามคําว่า ชาวบ้าน ผู้มีอิทธิพล นายทุน กันเองนะครับ  บางครั้งชาวบ้านก็เป็นผู้ร้าย บางทีนายทุนก็เป็นพระเอก ขึ้นอยู่ว่าจะมองในมุมไหน

ประเด็นคือ ถ้าทุกคนทําถูกกฏหมายเเล้วยังเกิดผลเสีย นั่นเเสดงว่าระบบไม่ดี

ปลูกป่ายังไงให้ชุมชนได้ประโยชน์ ให้นายทุนได้ประโยชน์ ให้ผู้มีอิทธิพลได้ประโยชน์ ให้ประเทศชาติได้ประโยชน์.............เเละที่สําคัญคือให้เราอยู่กับธรรมชาติได้ คือให้โลกได้ประโยชน์ ถ้ามองไปด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะไม่เกิดประโยชน์กับทุกคนครับ

ท่านผู้รณรงค์ปลูกป่าเเละคิดดีขออย่าให้เสียความตั้งใจครับ เเต่จะทําอย่างไรให้ยั่งยืนจริงๆ ให้ประเทศชาติได้ประโยชน์จริงๆ

 

 

ที่มา : FB Suttisak Soralump