นักวิจัยอุ้มลางสาดอุตรดิตถ์ หวั่นเลิกปลูกกระทบวนเกษตร

จังหวัดอุตรดิตถ์เป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรจำนวนมากปลูกลางสาดบนพื้นที่ที่มากที่สุดในประเทศ แต่ระยะหลังกระทั่งก่อนหน้านี้ 2 ปี ลางสาดมีราคาตกต่ำมากที่สุดคือเกษตรกรขายได้เพียงกิโลกรัมละ 5-8 บาทในขณะที่ต้นทุนอยู่ที่ราคากิโลกรัมและ 22 บาท เกษตรกรจำนวนมาก กำลังทิ้งสวน บางส่วนตัดยอดไปเสียบลองกองแทน จากปัญหาดังกล่าวทำให้นักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ เล็งเห็นความสำคัญจัดทำโครงการวิจัยเกี่ยวกับลางสาดอุตรดิตถ์หลายโครงการตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ

 ดร. สิริวดี พรหมน้อย   รองคณบดีฝ่ายวิจัยบริการวิชาการและพันธกิจสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ หนึ่งในทีมวิจัยของโครงการนี้ เปิดเผยว่า ทางมหาวิทยาลัยได้โจทย์จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในกาพัฒนาผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ (Signature product) ของจังหวัดอุตรดิตถ์  ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเคยวิจัยเรื่องทุเรียนหลงลับแลและหลินลับแล จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งมาแล้ว คราวนี้จึงเล็งไปที่ “ลางสาด” ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวกำลังประสบปัญหาหลายด้าน เนื่องจากผลผลิตที่ออกมาพร้อมๆ กันทำให้ราคาตกต่ำ เกษตรกรขาดแรงจูงใจในการจัดการสวน ปัจจัยการผลิตที่กับการที่เขาต้องลงทุนต่างๆ แต่เขากลับได้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มค่า ขณะเดียวกันเกษตรกรไม่ได้คิดหรือคำนวณราคาหรือต้นทุนดังกล่าว หรือมีขาดการใช้องค์ความรู้ในการแก้ปัญหา ของโดยเฉพาะการไม่เห็นคุณค่าที่จะนำมาสู่คุณค่าของลางสาด ท้ายสุดจึงไม่เป็นที่นิยมและทำให้เด็กรุ่นใหม่ๆ เริ่มไม่รู้จักลางสาด ซึ่งประเด็นนี้เป็นความท้าทายต่อนักวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างมาก

           

“จุดเน้นของวิจัยมีทั้งเชิงพื้นที่และเชิงพาณิชย์ เพื่อการอนุรักษ์ และการสร้างคุณค่าให้กับลางสาด การมองถึงผู้ประกอบการที่เป็น Social Enterpriseและเป็น Key success ของโครงการเน้นกระบวนขับเคลื่อนโดยใช้หลักการ Social engagement และในการทำให้ลางสาดเป็น Signature Product  เราไม่ได้มองว่าลางสาดเป็นแค่สินค้า แต่เรามองถึงการบริการ ตลอดจนสามารถสร้างอาชีพ เกิด Network value chain ที่กระจายรายได้ให้กับคนในจังหวัดอุตรดิตถ์ได้”

 

สิ่งที่ทีมวิจัยทำคือการกำหนด Project-objective เรื่องการจัดการผลผลิตให้ได้คุณภาพ มีลักษณะตรงตามความต้องการของผู้บริโภค มีการสร้างความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์ลางสาด นอกจากการขายผลสด ตรงนี้เป็นประเด็นให้เรามองภาพอนาคตที่เราอยากเห็น เพื่อสร้าง Social impact ให้พื้นที่ เกิดการสร้างความเป็นธรรม ความมั่นคงยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงในเรื่องการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

 

นอกจากนี้ยังทำการค้ากับตลาดเฉพาะ (Niche market) ที่มีความต้องการสินค้าพรีเมียม โดยการจัดการกับระบบการผลิตคุณภาพที่ต้นทาง เพื่อให้ได้ลางสาดรสชาติหวาน การยกระดับมาตรฐานความปลอดภัย ด้วยระบบ PGS Organic การทำ Network value chain การพัฒนาผลิตภัณฑ์ลางสาดมูลค่าสูงที่เป็นทั้ง Food และ Non-food โดยมองตลาดนำก่อนที่จะพัฒนา product การสร้างผู้ประกอบการที่มีวิธีคิดเพื่อสังคม นำไปสู่การประกอบการแบบ Social Enterprise ในพื้นที่ การสร้าง branding การสื่อสารทางด้านการตลาด และการศึกษาช่องทางตลาดจากการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในป่าวนเกษตร

ในเรื่องของการเพิ่มมูลค่าของลางสาด ด้วยการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ทั้ง Food และ Non-food และเชื่อมกับผู้ประกอบการเพื่อใช้กลไกตลาดเป็นตัวนำ มหาวิทยาลัยได้ดึงศาสตร์ต่างๆของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และภูมิปัญญาของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยนำเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อศึกษาถึงคุณลักษณะ คุณสมบัติทางกายภาพ และชีวภาพต่างๆ ของลางสาด เพื่อหาอัตลักษณ์ของลางสาดในการไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากโครงการนี้ทำให้เห็นได้ว่า เพียงแค่ลางสาด ที่มีการศึกษาลักษณะเฉพาะให้ลึกลงไป สามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าได้อย่างหลากหลายอย่างไม่น่าเชื่อ

ทั้ง น้ำลางสาด สเลอปี้ลางสาด ที่มีคุณค่าทางอาหาร ให้วิตามินซีสูง ตลอดจนการมีสารต้านอนุมูลอิสระทำให้เกิดผลิตภัณฑ์บำรุงผิวทั้ง ซีรั่ม โลชั่น สบู่ และถ่านสปา จากลางสาดทั้งเปลือก เนื้อ ผล และเมล็ด ทำให้เกิดการกระจายรายได้ให้คนในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 9.75 ล้านบาท จากการขายเฟรนไชส์ และผู้ประกอบการเครื่องสำอางออร์แกนิกส์สนใจ Intermediate product จากลางสาด ไปเป็นสารตั้งต้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการสร้าง Story จากการออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้าง Branding ที่มี Key success จากบริษัท ยินดีดีไซน์ มาช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับทีมวิจัย และพื้นที่จนเกิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคจำนวนมากให้ความสนใจ  ที่สำคัญโครงการยังสามารถสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์ลางสาด จนเกิดการจัดตั้งชมรมคนรักลางสาดขึ้น มีระบบและกลไกของกลุ่มในการควบคุมมาตรฐานการผลิตลางสาดคุณภาพของเกษตรกรเพื่อที่จะส่งให้ร้านเลม่อนฟาร์ม (Lemon farm) โดยที่มีผู้ประกอบการFarmer shop ในการรับและกระจายสินค้า

ภายหลังจากดำเนินโครงการสิ่งที่เกิดขึ้นคือ ราคาลางสาดสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 8 บาทในปี พ.ศ. 2560 เป็นกิโลกรัมละ 20 บาท จากการผลิตลางสาดคุณภาพด้วยองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แสดงให้เห็นถึงการสร้างรายได้ของลางสาดเพิ่มขึ้นถึง 150% และในปี พ.ศ.2561 ทางร้านเลมอนฟาร์ม ยังสั่งซื้อลางสาดของอุตรดิตถ์ มากกว่า 20 ตัน เมื่อคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.1 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการสานประโยชน์จากการสื่อสารด้านการตลาด โดยใช้กลไกวารสารของร้านเลม่อนฟาร์มในการที่จะโฆษณาให้คนหันมาบริโภคลางสาด ช่วยอนุรักษ์ป่าไม้ ไม่ใช่แค่ซื้อเพราะว่าอยากลองทานลางสาดอุตรดิตถ์ท่านั้น แต่ว่าอยากเป็นส่วนหนึ่งที่ร่วมกันอนุรักษ์ป่าด้วย  ซึ่งทั้งจากรายได้ที่เป็นตัวเลขให้กับชุมชนท้องถิ่นแล้ว เมื่อเรามองในเรื่องของคุณค่าที่เกิดขึ้นตามมาคือเราสามารถร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าในระบบวนเกษตรที่มีลางสาดอยู่ถึง 556 ไร่ ด้วยวิถีการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับป่าได้อย่างยั่งยืนต่อไป.

 

 

 

 

เขียน:หน่วยบูรณาการงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ (สกว.)