to Be Jealous of a Flower โดย นที อุตฤทธิ์


ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งในการนำเสนอ นิทรรศการ It Would Be Silly to Be Jealous of a Flower  โดย นที อุตฤทธิ์ ศิลปินจากกรุงเทพฯ ประเทศไทย ที่ ริชาร์ต โคห์ ไฟน์ อาร์ต เลขที่ 299 จาลัน มารอฟ, บูกิต บันดารายา, บังซา 59100, เมืองกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม – 8 มิถุนายน 2560 และพิธีเปิดการแสดงในวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม เวลา 17.00 น. – 20.00 น.  
 
“ดอกไม้กับการวาดภาพดอกไม้ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน แม้จะมีบางอย่างที่เชื่อมโยงกัน ในการจัดวางรวมกัน ดอกไม้มีความอิสระ มีความเป็นธรรมชาติในแบบของมัน มันถูกนำมาจัดวางในภาพวาด แต่หาใช่เป็นตัวแทนแห่งมวลดอกไม้แต่อย่างใด” ข้อความตัดตอนจาก Forget Me Not With Artist Palette - 13 ธ.ค. 2560 โดย นที อุตฤทธิ์ – ศิลปิน
 
การกลับมาแสดงงานที่กัวลาลัมเปอร์ในครั้งนี้ ศิลปินชาวไทย นที อุตฤทธิ์ มาพร้อมกับภาพวาดดอกไม้แบบ still-life จำนวน 29 ชิ้น ซึ่งห่างจากงานนิทรรศการเดี่ยวที่เมืองนี้นานถึง 4 ปี  ภาพวาดชุด

It Would Be Silly to Be Jealous of a Flower ของนที เป็นการแสดงผลงานต่อจากงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมากของเขาเมื่อ 4 ปีก่อน ที่จาร์กาต้า ซึ่งมีชื่อว่า Samlee & Co., The Absolutely Fabulous Show ทั้งนี้ งานชุดนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็คภาพวาดล่าสุดที่เขาสำรวจและค้นหาประเภทของศิลปะ 5 แบบ ตามขนบของศิลปะตะวันตกแบบคลาสสิค
 
ภาพที่พรรณนาถึงพรรณพฤกษาที่ทั้งห่อเหี่ยว และไม่สมบูรณ์ เป็นการจดบันทึกถึงคำถามและการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของนที อันมาสู่การสร้างสรรค์ชุดภาพที่ตั้งเรียงรายแสดงอยู่อย่างสวยงามบนขาตั้งภาพนี้ นที นำความจริงและเรื่องแต่ง ผ่านภาพวาดดอกไม้ เขาพินิจพิเคราะห์ถึงชีวิต สติสัมปชัญญะของมนุษย์  หวนระลึกความทรงจำที่ดี ตั้งคำถามเกี่ยวกับการเป็นเจ้าของที่รวมเอาประเพณี และจริยธรรมที่เป็นตัวกำหนดชีวิตประจำวันของเรา เขาบันทึกสิ่งที่เขาไตร่ตรองผ่านภาพวาดที่อุปมาอุปมัยถึงธรรมะและอธรรม
 
นที ถือเป็นจิตรกรที่ประสบความสำเร็จที่สุดในบรรดาศิลปินรุ่นราวคราวเดียวกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เขาตั้งคำถามกับความหยามเหยียดที่ศิลปะร่วมสมัยสื่อสารออกมา เมื่อเล่าถึงหัวข้อเหล่านี้อย่างตั้งอกตั้งใจ ผ่านภาพวาดมานานนับศตวรรษ ภาพวาดชุดนี้นำไปสู่การตั้งคำถามถึงการรับรู้ในยุคสมัยใหม่ เกี่ยวกับดอกไม้ และวัตถุพฤกษศาสตร์เหล่านี้ ในห้วงช่วงเวลาที่แนวคิดเรื่องความเป็นต้นฉบับดั้งเดิมของทุกสิ่งทุกอย่างตั้งอยู่บนความเสี่ยง ภาพวาดดอกไม้เหล่านี้กล่าวถึงวิวัฒนาการของการใช้สัญลักษณ์ และความเคารพศรัทธาที่พวกเขาไม่ได้ยึดถือไว้อีกต่อไปแล้ว นทีได้พิจารณาอย่างรอบคอบในการสร้างสรรค์ผลงานชุด still-life เหล่านี้ โดยเขาได้แขวนข้อจำกัดแห่งสัญชาตญาณของเขาระหว่างผืนผ้าใบและกรอบภาพ และเปล่งความรู้สึกถึงคุณค่าเหนือกาลเวลาออกมาได้อย่างเต็มที่ ผ่านการนำเสนอความเป็นจริงอย่างเป็นรูปธรรม