“สื่อสังคมออนไลน์ กับอนาคตเด็กและเยาวชนไทย”

สำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการ 1 – 12 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจ เรื่อง  “สื่อสังคมออนไลน์ กับอนาคตเด็กและเยาวชนไทย” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 19 - 30 ธันวาคม 2559 จากเด็กและเยาวชนที่พักอาศัยทั่วประเทศ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) รวมขนาดตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 4,800 หน่วยตัวอย่าง  เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีลงพื้นที่ภาคสนาม กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95.0 และมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error : S.E.) ไม่เกิน 0.7 

จากผลการสำรวจ พบว่า สื่อออนไลน์ที่เด็กและเยาวชนไทยนิยมใช้มากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ อันดับหนึ่ง ได้แก่ Facebook ร้อยละ 38.30 อันดับสอง ได้แก่ YouTube ร้อยละ 19.71 และอันดับสาม ได้แก่ Google
ร้อยละ 14.79

วัตถุประสงค์การใช้สื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการบันเทิง    (ฟังเพลง ดูหนัง เล่นเกม) มากที่สุด ร้อยละ 82.19 รองลงมา เพื่อศึกษาหาข้อมูล ร้อยละ 76.00 เพื่อพูดคุย แชท ร้อยละ 70.78 เพื่อโพสข้อความ รูปภาพ และวีดีโอ ร้อยละ 51.39 เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (ตั้งกระทู้/ประเด็น) ร้อยละ 23.09 เพื่อซื้อขายสินค้าและบริการ ร้อยละ 21.98 และเพื่อถ่ายทอดสด (Live Video)
ร้อยละ 8.93 ตามลำดับ

       

เมื่อถามถึง สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม อันดับแรก ได้แก่ สื่อออนไลน์ที่มีความรุนแรง ร้อยละ 81.04
ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าไปชม ร้อยละ 67.79 มีตัวอย่างเพียงร้อยละ 32.21 ที่เคยเข้าไปชมสื่อดังกล่าว โดยมีเหตุผลที่เข้าไปชม ได้แก่ อยากรู้อยากเห็น ร้อยละ 20.12 รองลงมา มีคนโพสในสื่อออนไลน์ ร้อยละ 18.05 และเห็นในสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ ร้อยละ 7.83

       

อันดับสอง สื่อออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การพนัน ร้อยละ 77.53 ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ ไม่เคยเข้าไปชม ร้อยละ 91.81 มีเพียงร้อยละ 8.19 ที่เคยเข้าไปชม ด้วยเหตุผล เพื่อความบันเทิง ร้อยละ 26.78  รองลงมา อยากลองเล่น ร้อยละ 19.66 และต้องการเงิน ร้อยละ 11.19

       

อันดับสาม สื่อออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ ฆาตกรรม ร้อยละ 68.04 ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าไปชม ร้อยละ 76.47 มีเพียงร้อยละ 23.53 ที่เคยเข้าไปชม ด้วยเหตุผล อยากรู้อยากเห็น มากที่สุด ร้อยละ  20.30 รองลงมา จะได้รับรู้เหตุการณ์/ข่าวที่เกิดขึ้นในสังคม ร้อยละ 10.48 และมีคนโพสในอินเทอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์
ร้อยละ 8.87

อันดับสี่ สื่อออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ สื่อลามกอนาจาร เช่น รูปภาพ วีดีโอ ร้อยละ 65.59 ซึ่งตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยเข้าไปชม ร้อยละ 81.10 มีเพียงร้อยละ 18.90 ที่เคยเข้าไปชม ด้วยเหตุผล อยากรู้อยากเห็น มากที่สุด ร้อยละ 26.74 รองลงมา เพื่อนชักชวน ร้อยละ 10.94 และมีคนโพสในอินเทอร์เน็ต/สื่อสังคมออนไลน์/แชร์ข้อมูล                  ร้อยละ 10.07

       

เมื่อถามถึง การส่งรูปภาพ วีดีโอ หรือข้อความที่แสดงออกถึงความไม่เหมาะสม พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยส่งรูปภาพ วีดีโอ หรือข้อความ ที่แสดงออกถึงความไม่เหมาะสม ร้อยละ 90.35 มีเพียงร้อยละ 9.48


ที่เคยส่ง  ด้วยเหตุผล มีการแชร์ส่งต่อกันมามากที่สุด ร้อยละ 10.77 รองลงมา ความคึกคะนอง ร้อยละ 9.67 และความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ร้อยละ 9.45

       

เมื่อถามถึง การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ ถ้ามีคนชวนหรือเสนอสิ่งแลกเปลี่ยน พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ ถ้ามีคนชวนหรือเสนอสิ่งแลกเปลี่ยน
ร้อยละ 99.25 มีเพียงร้อยละ 0.67 ที่จะแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ด้วยเหตุผลเป็นสิทธิส่วนบุคคล มากที่สุด
ร้อยละ 12.50 รองลงมา อยากลอง ร้อยละ 9.38 และอยากดัง อยากได้เงิน อยากรู้ ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 3.13

       

เมื่อถามถึง สาเหตุของการแสดงออกที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่า เพราะอยากดัง มากที่สุด ร้อยละ 76.11 รองลงมา อยากโชว์ ร้อยละ 64.73 เรียกร้องความสนใจ ร้อยละ 56.01 การเลียนแบบ ร้อยละ 51.36 ระบายความรู้สึก (ด่า) ร้อยละ 39.61 อยากได้เงิน ร้อยละ 33.44 และ
ขาดความอบอุ่น ร้อยละ 0.11 ตามลำดับ

       

เมื่อถามถึง ผลเสียของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม พบว่า ตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นว่าสายตาเสีย ปวดเมื่อยร่างกาย มากที่สุด ร้อยละ 69.20 รองลงมา เสียเวลา เสียเงิน เสียการเรียน ร้อยละ 57.61 สมาธิสั้น หมกมุ่น ซึมเศร้า เก็บตัว ขี้อิจฉา ร้อยละ 55.49 เป็นช่องทางให้มิจฉาชีพเข้าถึงตัวได้ง่าย ร้อยละ 46.42 การมีปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว เพื่อน และบุคคลรอบข้างลดลง ร้อยละ 43.08 เกิดการเลียนแบบและซึมซับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ร้อยละ 42.64 ทำให้สังคมเสื่อมโทรมลงไป คิดเป็นร้อยละ 39.45 ตามลำดับ

       

เมื่อถามถึง ระดับของปัญหาของการใช้สื่อออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม ตัวอย่างเห็นว่า ต้องได้รับการแก้ไขในระดับปานกลาง มากที่สุด ร้อยละ 34.77 รองลงมา ต้องได้รับการแก้ไขในระดับเร่งด่วน ร้อยละ 34.21 และต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด ร้อยละ 15.73 โดยมีค่าเฉลี่ยระดับของปัญหาของการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม  มีค่าเท่ากับ 6.45 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2.11 

       

เมื่อถามถึง ผู้ที่ต้องทำหน้าที่ควบคุม ดูแล และป้องกันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ตัวอย่างส่วนใหญ่ระบุว่า ตนเอง มากที่สุด ร้อยละ 76.59 รองลงมา ครอบครัว ร้อยละ 66.11 และหน่วยงานราชการ ร้อยละ 32.93

       

เมื่อถามถึง ข้อเสนอแนะ ในการป้องกันและส่งเสริมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ให้เหมาะสม ตัวอย่างส่วนใหญ่เสนอว่า ควรมีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกต้องและเหมาะสม มากที่สุด ร้อยละ 83.19 รองลงมา มีการควบคุมและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 29.71 และออกกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสื่อสังคมออนไลน์ให้ชัดเจนและเหมาะสม เช่น การกำหนดช่วงอายุ ควบคุมการผลิต จัดประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ ร้อยละ 0.27

เมื่อพิจารณาข้อมูลทั่วไป พบว่า ตัวอย่างเป็นเพศหญิงมากที่สุด ร้อยละ 50.56 รองลงมา เพศชาย ร้อยละ48.63 และเพศทางเลือก ร้อยละ 0.81

ตัวอย่างศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากที่สุด ร้อยละ 20.60 รองลงมา ในสัดส่วนที่เท่ากัน ระดับประถมศึกษาตอนปลายและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 20.13 และระดับปริญญาตรี/เทียบเท่า
ร้อยละ 20.02

       ตัวอย่างมีอายุระหว่าง 19–22 ปี มากที่สุด ร้อยละ 32.94 รองลงมามีอายุระหว่าง 16-18 ปี ร้อยละ 23.15 และมีอายุระหว่าง 9-12 ปี ร้อยละ 20.88