นิด้าโพลเผยผลสำรวจความคิดเห็นปชช.แก้ปัญหาน้ำท่วมภาคใต้

 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน    เรื่อง “การรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18  – 20 มกราคม 2560  กรณีศึกษาจากประชาชนที่อาศัย       อยู่ในภาคใต้ทั้ง 14 จังหวัด  กระจายทุกระดับการศึกษา และอาชีพ  รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างด้วยความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample)    ของ “นิด้าโพล” ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified  Random  Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามจังหวัดออกเป็น 14 จังหวัด จากนั้นในแต่ละจังหวัด      สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

               
จากการสำรวจเมื่อถามถึงการประสบกับเหตุอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 – ต้นเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมา พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 62.56 ระบุว่า ไม่ได้ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม ขณะที่ ร้อยละ 37.44 ระบุว่า ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม

           
ด้านความคิดของผู้ประสบอุทกภัยเกี่ยวกับสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงในการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้มากที่สุด โดยในจำนวนผู้ที่ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม  ส่วนใหญ่ ร้อยละ 29.55 ระบุว่า เป็นการบริหารจัดการทิศทางการไหลและการระบายของน้ำ  ให้ลดโดยเร็วที่สุด รองลงมา ร้อยละ 23.98 ระบุว่า เป็นการฟื้นฟู การเยียวยา และการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบอุทกภัยหลังจากน้ำลด    ร้อยละ 12.42 ระบุว่า เป็นการจัดสรรและกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย (มีความล่าช้า ได้ไม่ทั่วถึง ได้ไม่เท่ากัน ฯลฯ) ร้อยละ 11.35 ระบุว่า เป็นความรวดเร็วในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ร้อยละ 11.35 ระบุว่า เป็นการแจ้งข้อมูลข่าวสาร เช่น ข้อมูลระดับน้ำ        การเฝ้าระวัง ข้อมูลการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ฯลฯ ร้อยละ 4.28 ระบุว่า เป็นการประสานงานระหว่างผู้ประสบอุทกภัย กับเจ้าหน้าที่             


 และหน่วยงานต่าง ๆ ร้อยละ 6.42 ระบุว่า ไม่ต้องได้รับการปรับปรุง / ผู้ประสบอุทกภัยได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือเป็นอย่างดี และร้อยละ 0.64 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ควรปรับปรุงในทุก ๆ ด้าน และเน้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เช่น การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า

               
สำหรับความพึงพอใจของผู้ประสบอุทกภัยต่อการให้ความช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน   และประชาชนในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ผู้ที่ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม ร้อยละ 16.27 ระบุว่า พอใจมากที่สุด ร้อยละ 29.55 ระบุว่า     พอใจค่อนข้างมาก ร้อยละ 35.76 ระบุว่า พอใจปานกลาง ร้อยละ 11.78 ระบุว่า พอใจค่อนข้างน้อย และร้อยละ 6.64 ระบุว่า ไม่พึงพอใจเลย

               
เมื่อถามถึงการติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ประชาชนในภาคใต้      ส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.92 ระบุว่า ติดตาม ขณะที่ ร้อยละ 6.08 ระบุว่า ไม่ได้ติดตาม  ซึ่งในจำนวนผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยานั้น ส่วนใหญ่ ร้อยละ 81.77 ระบุว่า ติดตามจากสื่อโทรทัศน์ ร้อยละ 35.69 รองลงมา ระบุว่า ติดตามจาก   สื่ออินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์  (เช่น เว็บไซต์ต่าง ๆ ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ฯลฯ)  ร้อยละ 8.86 ระบุว่า ติดตามจากสื่อวิทยุ  ร้อยละ 2.98 ระบุว่า ติดตามจากสื่อหนังสือพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ ร้อยละ 2.39 ระบุว่า ติดตามจากการแจ้งข่าวจากบุคคล ญาติ เพื่อน คนรอบข้าง ร้อยละ 1.96 ระบุว่า ติดตามจากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในชุมชน และร้อยละ 0.17 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ วิทยุสื่อสารที่ใช้ในการจราจรทางน้ำและการประมง, และติดต่อผ่านหมายเลข 1182 ของกรมอุตุนิยมวิทยาโดยตรง
 

               
ด้านความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ  ในครั้งต่อ ๆ ไป พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ร้อยละ 13.98 ระบุว่า เชื่อมั่นมากที่สุด ร้อยละ 24.45 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างมาก ร้อยละ 45.22 ระบุว่า เชื่อมั่นปานกลาง ร้อยละ 10.63 ระบุว่า เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย ร้อยละ 5.72 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่นเลย

               
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงสิ่งที่ประชาชนต้องการฝากถึง รัฐบาล / หน่วยงานภาครัฐ / ภาคเอกชน และประชาชนภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่อง    การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย  พบว่า ประชาชนในภาคใต้ ส่วนใหญ่ ร้อยละ 38.48 ระบุว่า ควรแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็น   ต่อการดำรงชีพ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ยา อาหาร น้ำดื่ม  แก่ผู้ประสบอุทกภัยให้ทั่วถึง เท่าเทียมกัน และควรมีคณะกรรมการกลางในการตรวจสอบ

สิ่งของบริจาค วันหมดอายุ และจัดสรรสิ่งของให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับถึงมืออย่างแท้จริง และเร่งดำเนินการฟื้นฟู เยียวยา การชดเชยค่าเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย การสร้างถนน สะพาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ น้ำประปา ไฟฟ้า อุปกรณ์การเกษตร การสร้างงาน อาชีพ เงินทุน ดอกเบี้ยสินเชื่อ และรวมไปถึงควรลดเงื่อนไข เอกสาร หรือขั้นตอนในการยื่นเรื่องขอค่าชดเชย          ความเสียหายด้วย  รองลงมา ร้อยละ 29.56 ระบุว่า ทุกภาคส่วนควรเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่ และเป็นไปด้วย

 

ความรวดเร็วอย่างทันท่วงที และควรมีทีมช่วยเหลือให้เพียงพอ และผู้ที่เกี่ยวข้องควรลงมาดูพื้นที่ความเสียหายด้วยตนเองด้วยความจริงจังและเอาใจใส่ โดยเฉพาะ พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักและเร่งด่วนอย่างมาก หรือพื้นที่ที่มีผู้ป่วย ผู้พิการ คนชรา และควรแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด   ร้อยละ 15.45  ระบุว่า ขอขอบคุณ ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขและช่วยเหลือกันซึ่งทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมและประสานงานกันในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี มีความรวดเร็ว เป็นไปอย่างทั่วถึง และขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ประสบอุทกภัยทุกคน ก้าวข้ามวิกฤตในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้โดยเร็วที่สุด

               
นอกจากนี้ ร้อยละ 12.65 ระบุว่า รัฐบาล และหน่วยงานอื่น ๆ ควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ต้นเหตุแบบระยะยาว  และมีความยั่งยืน มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นรูปธรรมและดีกว่านี้ ควรมีการวางแผนการระบายน้ำ การจัดผังเมือง สิ่งกีดขวางและการลุกล้ำพื้นที่ทางน้ำ การสร้างพื้นที่รองรับน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แก้มลิงต่าง ๆ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าด้วย ร้อยละ 3.33 ระบุว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง


โดยเฉพาะ กรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น ควรมีการติดต่อ ประสานงานกับคนในพื้นที่และชุมชน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและระบบการเตือนภัยให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง และครอบคลุมในพื้นที่ และในขณะเดียวกัน ประชาชนเอง ก็ควรที่จะติดตามข้อมูลข่าวสารและเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ด้วย เนื่องจากภาวะฝนตกและน้ำท่วมเกิดขึ้นรวดเร็วมาก และร้อยละ 0.53 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ รัฐบาลควรศึกษาและนำไปปรับเป็นบทเรียนไว้ใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะ การเตรียมความพร้อม     และการรับมือ เพราะน้ำท่วม สามารถเกิดได้ทุกที่ และทุกเวลา , ขณะที่บางส่วนระบุว่า อุทกภัย เป็นภัยธรรมชาติที่แก้ไขได้ยาก
 

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 48.64 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.36 เป็นเพศหญิง ตัวอย่าง ร้อยละ 9.52 มีอายุ ต่ำกว่า 25 ปี ร้อยละ 22.16 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 25.76 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 27.36 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 13.60 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่างร้อยละ 77.92 ระบุว่า นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ 20.00 ระบุว่า นับถือศาสนาอิสลาม  ร้อยละ 0.48  ระบุว่า นับถือศาสนาคริสต์/ฮินดู/ซิกข์/ยิว/ไม่นับถือศาสนาใด ๆ และร้อยละ 1.60 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่าง ร้อยละ 23.12 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 70.16 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.96  หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.76 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 23.52  จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 30.96 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 9.84 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 28.32 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.80 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.56 ไม่ระบุการศึกษา
 

ตัวอย่างร้อยละ 13.28 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 10.56 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.28 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 18.48 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 14.32 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 16.24 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 3.12 เป็นนักเรียน/นักศึกษา  ร้อยละ 0.08 เป็นองค์กรอิสระที่ไม่แสวงหากำไร


และร้อยละ 2.64 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 16.72 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท  ร้อยละ 30.96  มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 11.84 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 6.48 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 –  40,000 บาท ร้อยละ 6.88 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า  40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 7.04 ไม่ระบุรายได้

 

1. ท่านประสบกับเหตุอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 – ต้นเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมาหรือไม่

การประสบกับเหตุอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในช่วงเดือนธันวาคม 2559 – ต้นเดือนมกราคม 2560 ที่ผ่านมา

ร้อยละ

ไม่ได้ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม

62.56

ประสบเหตุอุทกภัยน้ำท่วม

37.44

รวม

100.00

 

2. หากท่านประสบกับเหตุอุทกภัย ท่านคิดว่าการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้  ควรได้รับการปรับปรุงในเรื่องใดมากที่สุด                                               

    (เฉพาะผู้ที่ประสบกับเหตุอุทกภัย  n = 468 คน)

ความคิดของผู้ประสบอุทกภัยเกี่ยวกับสิ่งที่ควรได้รับการปรับปรุงในการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ มากที่สุด

ร้อยละ

การบริหารจัดการทิศทางการไหลและการระบายของน้ำให้ลดโดยเร็วที่สุด

29.55

การฟื้นฟู การเยียวยา และการชดเชยความเสียหายแก่ผู้ประสบอุทกภัยหลังจากน้ำลด

23.98

การจัดสรรและกระจายสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัย (มีความล่าช้า ได้ไม่ทั่วถึง ได้ไม่เท่ากัน ฯลฯ)

12.42

ความรวดเร็วในการเข้าช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

11.35

การแจ้งข้อมูลข่าวสาร เช่น ข้อมูลระดับน้ำ การเฝ้าระวัง ข้อมูลการให้ความช่วยเหลือต่าง ๆ ฯลฯ

11.35

การประสานงานระหว่างผู้ประสบอุทกภัย กับเจ้าหน้าที่ และหน่วยงานต่าง ๆ

4.28

ไม่ต้องได้รับการปรับปรุง / ผู้ประสบอุทกภัยได้รับการแก้ไขและช่วยเหลือเป็นอย่างดี

6.42

อื่น ๆ ได้แก่ ควรปรับปรุงในทุก ๆ ด้าน และเน้นการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน เช่น การแก้ไขปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า

0.64

รวม

100.00

 

3. โดยรวมแล้ว ท่านมีความพึงพอใจต่อการให้ความช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน  และประชาชน

    ในช่วงที่ผ่านมามากน้อยเพียงใด   (เฉพาะผู้ที่ประสบกับเหตุอุทกภัย  n = 468 คน)

ความพึงพอใจของผู้ประสบอุทกภัยต่อการให้ความช่วยเหลือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในภาคใต้ ทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนในช่วงที่ผ่านมา

ร้อยละ

พอใจมากที่สุด

16.27

พอใจค่อนข้างมาก

29.55

พอใจปานกลาง

35.76

พอใจค่อนข้างน้อย

11.78

ไม่พึงพอใจเลย

6.64

รวม

100.00

 

 

4. ปกติ ท่านติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาหรือไม่อย่างไร

การติดตามข้อมูลข่าวสารของประชาชนเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา

ร้อยละ

ไม่ได้ติดตาม

6.08

ติดตาม   (หากท่านติดตาม ท่านติดตามจากช่องทางใดบ้าง  ตอบได้มากว่า 1 ข้อ) (n = 1,174 คน)

93.92

ติดตามจากสื่อโทรทัศน์

81.77

ติดตามจากสื่ออินเทอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์  (เช่น เว็บไซต์ต่าง ๆ ไลน์ เฟซบุ๊ค ทวิตเตอร์ ฯลฯ)

35.69

ติดตามจากสื่อวิทยุ   

8.86

ติดตามจากสื่อหนังสือพิมพ์ / สิ่งพิมพ์

2.98

การแจ้งข่าวจากบุคคล ญาติ เพื่อน คนรอบข้าง

2.39

ติดตามจากการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในชุมชน

1.96

อื่น ๆ ได้แก่ วิทยุสื่อสารที่ใช้ในการจราจรทางน้ำและการประมง , และติดต่อผ่านหมายเลข 1182 ของกรมอุตุนิยมวิทยา

0.17

รวม

100.00

 

5. ท่านมีความเชื่อมั่น ว่ารัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในครั้งต่อ ๆ ไป มากน้อยเพียงใด               (การเตรียมรับมือ การแจ้งข้อมูลข่าวสาร  การบริหารจัดการ การเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัย การประสานงาน การช่วยเหลือฟื้นฟู การชดเชย

   ค่าเสียหาย)

ความเชื่อมั่นของประชาชนต่อการรับมือและการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของรัฐบาลและหน่วยงานต่าง ๆ  ในครั้งต่อ ๆ ไป

ร้อยละ

เชื่อมั่นมากที่สุด

13.98

เชื่อมั่นค่อนข้างมาก

24.45

เชื่อมั่นปานกลาง

45.22

เชื่อมั่นค่อนข้างน้อย

10.63

ไม่เชื่อมั่นเลย

5.72

รวม

100.00

 

6. สิ่งที่ท่านอยากจะฝากถึง รัฐบาล / หน่วยงานภาครัฐ / ภาคเอกชน และประชาชนภาคอื่น ๆ เกี่ยวกับเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบ

    อุทกภัยในครั้งนี้ คือ

สิ่งที่ประชาชนต้องการฝากถึง รัฐบาล / หน่วยงานภาครัฐ / ภาคเอกชน และประชาชนภาคอื่น ๆ

เกี่ยวกับเรื่องการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในครั้งนี้

ร้อยละ

ควรแจกจ่ายสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ เช่น เครื่องนุ่งห่ม ยา อาหาร น้ำดื่ม  แก่ผู้ประสบอุทกภัย

          ให้ทั่วถึง เท่าเทียมกัน และควรมีคณะกรรมการกลางในการตรวจสอบสิ่งของบริจาค วันหมดอายุ และจัดสรรสิ่งของให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยได้รับถึงมืออย่างแท้จริง และเร่งดำเนินการฟื้นฟู เยียวยา การชดเชยค่าเสียหายไม่ว่า

          จะเป็นการซ่อมแซมอาคาร บ้านเรือน ที่พักอาศัย การสร้างถนน สะพาน สาธารณูปโภคต่าง ๆ น้ำประปา ไฟฟ้า อุปกรณ์ การเกษตร การสร้างงาน อาชีพ เงินทุน ดอกเบี้ยสินเชื่อ และรวมไปถึงควรลดเงื่อนไข เอกสาร หรือขั้นตอนในการยื่นเรื่องขอค่าชดเชยความเสียหายด้วย

38.48

ทุกภาคส่วนควรเร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยอย่างเต็มที่ เป็นไปด้วยความรวดเร็วอย่างทันท่วงที และควรมีทีมช่วยเหลือให้เพียงพอ และผู้ที่เกี่ยวข้องควรลงมาดูพื้นที่ความเสียหายด้วยตนเองด้วยความจริงจัง   และเอาใจใส่ โดยเฉพาะ พื้นที่ที่ได้รับความเสียหายหนักและเร่งด่วนอย่างมาก หรือพื้นที่ที่มีผู้ป่วย ผู้พิการ คนชรา และควรแก้ไขปัญหาให้ตรงจุด

29.56

ขอขอบคุณ ชื่นชม และเป็นกำลังใจให้กับหน่วยงานทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงทุกคนที่ร่วมแรงร่วมใจกันแก้ไขและช่วยเหลือกัน ซึ่งทุกฝ่ายได้มีส่วนร่วมและประสานงานกันในการแก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี มีความรวดเร็ว เป็นไปอย่างทั่วถึงและขอเป็นกำลังใจให้กับ ผู้ประสบอุทกภัยทุกคน ก้าวข้ามวิกฤตในครั้งนี้ให้ผ่านพ้นไปได้โดยเร็วที่สุด

15.45

รัฐบาล และหน่วยงานอื่น ๆ ควรร่วมมือกันแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่ต้นเหตุแบบระยะยาวและมีความยั่งยืน มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นรูปธรรมและดีกว่านี้ ควรมีการวางแผนการระบายน้ำ การจัดผังเมือง สิ่งกีดขวางและการลุกล้ำพื้นที่ทางน้ำ การสร้างพื้นที่รองรับน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำ แก้มลิงต่าง ๆ รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาการตัดไม้  ทำลายป่าด้วย

12.65

หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น ควรมีการติดต่อ ประสานงานกับคนในพื้นที่และชุมชน เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารและระบบการเตือนภัยให้มีความรวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้อง และครอบคลุมในพื้นที่ และในขณะเดียวกัน ประชาชนเอง ก็ควรที่จะติดตามข้อมูลข่าวสาร และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้ด้วย เนื่องจากภาวะฝนตกและน้ำท่วมเกิดขึ้นรวดเร็วมาก

3.33

อื่น ๆ ได้แก่ รัฐบาลควรศึกษาและนำไปปรับเป็นบทเรียนไว้ใช้ในครั้งต่อ ๆ ไป โดยเฉพาะ การเตรียมความพร้อม  และการรับมือ เพราะน้ำท่วม สามารถเกิดได้ทุกที่ และทุกเวลา , ขณะที่บางส่วนระบุว่า อุทกภัย เป็นภัยธรรมชาติที่แก้ไขได้ยาก

0.53