ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งลงโทษไล่ประเสริฐอดีตปลัดกทม.ออกจากราชการ


(22กย.59) ศาลปกครองกลางอ่านคำพิพากษา ในคดีหมายเลขดำที่ ๓๐/๒๕๕๓ คดีหมายเลขแดงที่ ๑๙๐๙/๒๕๕๙ ระหว่าง นายประเสริฐ สมะลาภา (ผู้ฟ้องคดี) กับ กรุงเทพมหานคร ที่ ๑ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่ ๒ คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครที่ ๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ ๔ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ที่ ๕  (ผู้ถูกฟ้องคดี) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดย ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (คำสั่งลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย) โดยมีสาระสำคัญของคำพิพากษาคดีดังกล่าวสรุปได้ดังนี้
         
คดีนี้ ผู้ฟ้องคดีได้ฟ้องกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๑ ถึงที่ ๔ ตามลำดับ และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีคำขอเข้ามาเป็นผู้ ร้องสอด ซึ่งศาลได้กำหนดให้เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ โดยฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดีถูกคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ ๓๘๑๑/๒๕๕๑
ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๑ ลงโทษไล่ออกจากราชการเนื่องจากทำให้ทางราชการได้รับความเสียหาย อันเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงฐานทุจริตต่อหน้าที่ราชการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยจงใจ

ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบของทางราชการ มติคณะรัฐมนตรีหรือนโยบายของรัฐบาลกระทำการอื่นใดอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง ตามมาตรา ๘๒ วรรคสาม มาตรา ๘๕วรรคสอง และมาตรา ๙๘ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕ อันสืบเนื่องมาจากกรณีการจัดซื้อที่ดินเพื่อใช้เป็นที่จอดรถขยะกรุงเทพมหา นคร


โดยเขตบางซื่อที่แพงเกินจริงและไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ได้ โดยฟังข้อเท็จจริงว่าผู้ฟ้องคดีเป็นต้นเรื่องที่ทำให้มีการจัดซื้อที่ดิน พิพาท เป็นผู้รับและผ่านเรื่องมาโดยตลอดเกือบทุกขั้นตอน แต่ไม่ได้มีการทักท้วงหรือคัดค้านโดยเปิดเผย สั่งการให้ผู้อำนวยการเขตชั้นในร่วมกันพิจารณาหาสถานที่จอดรถขยะทั้งที่ไม่ มีข้อบัญญัติกฎหมายใดให้อำนาจกระทำได้ ละเว้นไม่สอบถามราคาประเมินที่ดินให้ถูกต้องครบถ้วนจากสำนักงานที่ดิน กรุงเทพมหานครและธนาคารพาณิชย์ ไม่ตรวจสอบที่ดินพิพาทมีทางเข้าออกสาธารณะหรือไม่ การให้ดำเนินการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษก็ไม่อาจทำได้เพราะกรณีมิใช่พัสดุที่ เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง


ที่จำเป็น ต้องซื้อเฉพาะแห่ง ในการจัดซื้อก็ไม่เตรียมของบประมาณ โดยจัดทำเป็นข้อบัญญัติงบประมาณประจำปีหรืองบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม แต่กลับไปขอใช้ยืมเงินสะสมกรุงเทพมหานครเพื่อการจัดซื้อ


อันเป็นการไม่ถูกต้อง การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทและอาคารบนที่ดินก็ระบุว่าสิ่งปลูกสร้าง
บนที่ดินไม่มี ทั้งนี้โดยเป็นการลงโทษตามที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๕ มีมติชี้มูลว่าเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
ผู้ ฟ้องคดีได้อุทธรณ์ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ โดยเสียงข้างมากเห็นว่าอุทธรณ์ฟังขึ้น แต่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงความผิดได้ จึงมีมติลดโทษเป็นปลดผู้ฟ้องคดีออกจากราชการ
         
ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ตามวงเงินจัดซื้อไม่อยู่ในอำนาจของผู้ฟ้องคดี หากแต่เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่พัสดุ คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ และผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ (ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร) อีกทั้ง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมในการจัดซื้อ เช่าที่ดินและอาคารเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรุงเทพมหานคร (กซช.) และคณะตรวจสอบที่ดินหรืออาคาร
ซึ่งกรุงเทพมหานครจัดซื้อหรือเช่าเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรุงเทพมหานคร (ตซช.)

เมื่อ คณะกรรมการทั้งสองชุดได้ข้อยุติประการใดก็จะดำเนินการจัดซื้อตามข้อบัญญัติ กรุงเทพมหานคร เรื่อง การพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๘ ต่อไป โดยเจ้าหน้าที่พัสดุต้องเป็นผู้ดำเนินการและเสนอผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๒ อนุมัติสั่งซื้อในชั้นที่สุด การอนุมัติขอใช้ยืมเงินสะสมก็เป็นอำนาจของสภากรุงเทพมหานคร ผู้ฟ้องคดีไม่ใช่ผู้ริเริ่มโครงการจัดซื้อที่ดินพิพาท หากแต่เป็นการดำเนินการตามมติที่ประชุมคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานคร โดยผู้ฟ้องคดีมีฐานะเป็นกรรมการคนหนึ่งใน กซช. และคณะผู้บริหารกรุงเทพมหานครเท่านั้น


แต่กระนั้นก็ไม่ได้ละเลยในการตั้งข้อสังเกตหรือทักท้วง ไม่มีส่วนร่วมในการอนุมัติ ไม่เคยรู้เห็นด้วยกับการทุจริตหรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งกรุงเทพมหานครที่ลงโทษไล่ออกและปลดผู้ ฟ้องคดีออกจากราชการ และเพิกถอนมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๓ และความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ ๔ ที่ให้ลงโทษเป็นปลดออกจากราชการ