"เมาขับ-จับจริง"



เรียกได้ว่าช่วงสงกรานต์ปี 2559 มีผู้กระทำผิดกฎหมายจราจร สำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนมาตรการเมาแล้วขับมากขึ้นกว่าในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมา ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. 

จึงออกมาตั้งข้อสังเกตนี้ว่า เนื่องจากผู้ใช้เส้นทางในการเดินทางกลับภูมิลำเนาและท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ มีจำนวนมากขึ้น ประกอบกับเจ้าหน้าที่ได้เพิ่มจำนวนจุดบริการ จุดตรวจสอบมากขึ้น 

ทำให้ตรวจพบผู้ฝ่าฝืนมาตรการมากขึ้นเช่นกัน 

ตามมาตรการสร้างความปลอดภัย “ดื่มไม่ขับ จับยึดรถ” เทศกาลสงกรานต์ปีนี้ รัฐบาลงัดมาตรการนี้ออกมาบังคับใช้อีกครั้ง เพื่อเอาผิดกับผู้ที่มีพฤติกรรมเมาแล้วขับในช่วงเทศกาล หลังมีประกาศ

ใช้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งสามารถลดอุบัติเหตุ ลดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคนไทยได้อย่างดี

สถิติการตรวจพบผู้กระทำผิดในลักษณะที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุโดยประมาทด้วยการดื่มแล้วขับขี่ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา (9-15 เมษายน 2559) เจ้าหน้าที่ได้ยึดรถที่ฝ่าฝืนมาตรการ ไว้แล้ว

4,609 คัน แยกเป็นรถจักรยานยนต์ 3,488 คัน และ รถยนต์ 1,121 คัน และดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด รถจักรยานยนต์ 50,271 คน รถโดยสารสาธารณะ,รถยนต์ส่วนบุคคล 31,270 คน

พล.ต.ต.อดุลย์  ณรงค์ศักดิ์ รองผบช.น. รับผิดชอบงานด้านจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล ระบุว่า มาตรการเมาขับยึดรถในครั้งนี้บูรณาการกำลังจากหลายหน่วยงาน ตรวจค้นและสกัดจับ

กลุ่มคนที่เมาแล้วขับ รวมไปถึงกลุ่มวัยรุ่นที่รวมตัวกันแข่งรถซิ่งบนท้องถนน แต่เมื่อหมดช่วงเทศกาลเจ้าของสามารถติดต่อขอรับรถที่ถูกเจ้าหน้าที่ยึดไว้คืนได้ภายใน 7 วัน 

มาตรการครั้งนี้จะสามารถช่วยลดผู้กระทำผิดได้จากที่ก่อนหน้านี้ได้ประกาศใช้ไปแล้วครั้งหนึ่ง พร้อมกันนี้ก็จะให้ดำเนินคดีสถานหนักผู้ขับขี่ที่เมาแล้วขับทุกราย ซึ่งจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ

ปรับ 5,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือ เพิกถอนใบอนุญาต รวมถึงต้องบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะระหว่างควบคุมความประพฤติเฉก

เช่นกับที่บังคับใช้อยู่ทุกวันนี้

“ในส่วนที่รถยังตกเป็นของกลางขณะถูกเจ้าหน้าที่ยึด ก็มีการประสานข้อมูลกับกรมการขนส่งทางบกให้ตรวจสอบว่ารถคันนั้นมีการโจรกรรมมาหรือไม่ หรือใช้กระทำผิดใดมาก็จะถูกระงับการใช้รถและ

เพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ทันที” พล.ต.ต.อดุลย์  เปิดเผย 

สอดคล้องกับข้อมูลของมูลนิธิไทยโรดส์ ( Thai Roads ) ที่ระบุถึงมาตรการเมาขับจับยึดรถ ที่ออกมาบังคับใช้ที่มีคนถูกยึดจำนวนมากจากช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่าน หากมองอีกมุมคนจำนวนนี้ขับขี่ยานพาหนะในขณะที่เมาอาจจะสุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้บนท้องถนนจนนำไปสู่การเสียชีวิต 

ซึ่งหากย้อนกลับไปดูสถิติเมื่อ 10 ปีหลังมานี้ ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุลดลงจากแต่ก่อน เพราะเริ่มมีการรณรงค์จากหลายภาคส่วนมากขึ้น ภายหลังมาช่วง 3 – 4 ปีนี้ กลับพบว่ายอดผู้เสียชีวิต

ในช่วง 7 วัน มีผู้เสียชีวิตคงที่ 300 – 400 คนมาโดยตลอด จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนมาตรการให้เข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะ ถนนสายรอง หรือ ถนนตามชุมชนต่างๆ ที่มักจะเกิดอุบัติเหตุขึ้นบ่อยครั้ง 

ความคิดเห็นของ นายชาติชาย งามสว่าง หนึ่งในผู้ใช้รถใช้ถนน ยอมรับว่า การเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นในช่วงเทศกาลต่างๆ รวมไปถึงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนจะเดินทางกลับภูมิลำเนา 

หรือออกมาสังสรรค์ และมาดื่มสุรากับกลุ่มเพื่อน ก่อนจะขับรถกลับบ้าน ก็เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้สูงเพราะไม่สามารถควบคุมสติปัญญาได้ 

แต่ปัจจุบันพบว่าหลายหน่วยงานได้ออกมารณรงค์เมาไม่ขับ จับยึดรถ ซึ่งเป็นมาตรการที่ดี ที่จะสามารถช่วยลดอุบัติเหตุความสูญเสียที่อาจะเกิดขึ้นได้ เพราะมักมีผู้ที่ฝ่าฝืนกระทำผิดอยู่เป็นประจำ 

จึงอยากให้รัฐบาลนำมาตรการนี้มาใช้ทุกช่วงเทศกาลด้วย

 

เขียน:พายุหมุน

 

 

ข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจ